• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

คลัง เทียบราคาขายปลีกน้ำมัน ชี้ไทยไม่ได้แพงสุดในภูมิภาค

Started by Prichas, October 27, 2021, 08:44:58 AM

Previous topic - Next topic

Prichas

คลัง เปิด 6 โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน เผยอัตราภาษีและการส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันแต่ละชนิดต่างกัน พร้อมเทียบราคาเพื่อนบ้าน ชี้ไทยไม่ได้ใช้น้ำมันแพงสุดในภูมิภาค

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ชี้แจงกรณีกล่าวอ้างว่า "การเก็บภาษีและเงินกองทุนของภาครัฐสูงถึงร้อยละ 49 ของราคาน้ำมันต่อลิตรที่ประชาชนจ่าย" นั้น ไม่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ซึ่งการกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นการนำสัดส่วนของราคาน้ำมันเบนซินปกติ มาอ้างใช้กับน้ำมันทุกประเภท โดยหากเป็นน้ำมันประเภทอื่นเช่น เบนซินแก๊สโซฮอล ดีเซล LPG เป็นต้น สัดส่วนของภาษีและเงินกองทุนจะอยู่ในสัดส่วนเพียงร้อยละ 6 - 23 เท่านั้น และในน้ำมันบางประเภท เช่น เบนซิน 95 E85 และ LPG สัดส่วนการเก็บภาษีและเงินกองทุนติดลบ เนื่องจากได้รับการอุดหนุนจากกองทุนน้ำมัน

 

โดยปัจจุบัน โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง แบ่งออกเป็น 6 องค์ประกอบ ได้แก่

(1) ราคาหน้าโรงงาน ซึ่งเป็นต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ

(2) ภาษีสรรพสามิตที่อัตราประมาณ 0.975 ถึง 6.5 บาทต่อลิตร ขึ้นกับประเภทน้ำมัน ซึ่งจัดเก็บบนหลักการด้านสิ่งแวดล้อม

(3) ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่นที่ร้อยละ 10 ของภาษีสรรพสามิต เพื่อเป็นรายได้ท้องถิ่นในการจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะแก่ประชาชนในพื้นที่

(4) ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ซึ่งเป็นการจัดเก็บสินค้าเกือบทุกประเภท

(5) กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ที่จัดเก็บประมาณ -17.6143 ถึง 6.58 บาทต่อลิตร ขึ้นกับประเภทน้ำมัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลักในการรักษาเสถียรภาพของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ

(6) ค่าการตลาดซึ่งเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ


ทั้งนี้ จากข้อมูลราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 น้ำมันดีเซล มีราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ถึง 87 ของราคาขายปลีก ในส่วนของภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 ถึง 16 ของราคาขายปลีก ส่วนค่าการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1 – 3 ของราคาขายปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า

 

กลุ่มราคาน้ำมันเบนซิน มีราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56 ถึง 100 ของราคาขายปลีก ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ -25 ถึง 35 ของราคาขายปลีก ค่าการตลาดคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2 – 18 ของราคาขายปลีก และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า

 

กลุ่มราคา LPG ราคาหน้าโรงงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 157 ของราคาขายปลีก ภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อส่วนราชการท้องถิ่น เงินนำส่ง/ได้รับอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และเงินนำส่งกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ -81 ของราคาขายปลีก เนื่องจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีการอุดหนุนราคาดังกล่าวอยู่ LPG ค่าการตลาดอยู่ที่สัดส่วนร้อยละ 17 ของราคาขายปลีกและภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าทุกประเภทที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้า

พร้อมระบุว่า การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าพลังงานเป็นแนวปฏิบัติสากล โดยในภูมิภาคอาเซียนเกือบทุกประเทศมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากสินค้าพลังงานทั้งสิ้น ซึ่งราคาสินค้าพลังงานของประเทศไทยอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน โดยหากพิจารณาจากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลในประเทศ ณ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 แล้ว อยู่ที่ประมาณ 29 บาทต่อลิตร ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 53 บาทต่อลิตร สปป. ลาวอยู่ที่ 31.50 บาทต่อลิตร กัมพูชาอยู่ที่ 30.24 บาทต่อลิตร ฟิลิปปินส์อยู่ 28.69 บาทต่อลิตร เมียนมาอยู่ 26.95 บาทต่อลิตร และมาเลเซีย (ผู้ส่งออกน้ำมัน) อยู่ที่ 17.42 บาทต่อลิตร

 

ในด้านภาษีมูลค่าเพิ่ม อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 10 ของมูลค่าสินค้าและบริการ แต่จัดเก็บจริงที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าและบริการ ซึ่งไทยมีอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มต่ำที่สุดในภูมิภาค รวมทั้งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่ม OECD จะพบว่า อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเฉลี่ยของกลุ่ม OECD สูงกว่าอัตราจัดเก็บจริงของไทยเกือบ 3 เท่า หรืออยู่ที่ร้อยละ 19.3 ดังนั้น การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร้อยละ 7 ของมูลค่าสินค้าและบริการ จึงอาจไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประชาชนที่สูงเกินกว่าประเทศอื่น ๆ ในโลก

 

การจัดเก็บภาษีทั้งภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ โดยในปีงบประมาณ 2563 สัดส่วนภาษีสรรพสามิตและภาษี VAT คิดเป็นเกือบร้อยละ 40 ของรายได้รัฐบาลรวม ดังนั้น การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่รัฐบาลจะสามารถนำมาใช้ในการบริหารประเทศและแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมต่าง ๆ ได้ เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและการค้าขายและลดต้นทุนการขนส่ง การดำเนินมาตรการส่งเสริม SMEs การดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบจาก COVID-19 การให้บริการด้านสาธารณสุข เป็นต้น