• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ดิจิทัลเทรนด์ สู่วิวัฒนาการจองซื้อหุ้นกู้ “เป๋าตัง-โมบายแอป” ถึงมือรายย่อย

Started by Chanapot, October 10, 2021, 05:41:58 AM

Previous topic - Next topic

Chanapot


"สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย" ฉายภาพ วิวัฒนาการจองซื้อหุ้นกู้ซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายรับดิจิทัลเทรนด์ สู่การยกระดับเสนอขายหุ้นกู้บนแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง-โมบายแบงกิ้ง" เพิ่มความสะดวกถึงมือนักลงทุนรายย่อย

ดิจิทัลเทรนด์ ขายหุ้นกู้ สู่ มือรายย่อย
วันที่ 9 ตุลาคม 2564 นางสาวอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย(ThaiBMA) เปิดเผยว่า การเสนอขายตราสารหนี้ในประเทศไทย ปัจจุบันมีแนวโน้มการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเสนอขายหุ้นกู้ภาคเอกชนค่อนข้างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เริ่มตั้งแต่ปลายปี 2562 ที่สมาคมฯมีการพัฒนาบล็อกเชน(RSP1) เป็นครั้งแรกของไทย โดยเริ่มทดสอบความเป็นไปได้(Proof of concept) ในกระบวนขายตราสารหนี้และการจัดเก็บหุ้นกู้

ซึ่งขณะนั้นบริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (TOYOTA Leasing) เป็นผู้ออกนำร่องภายใต้โครงการ Sandbox ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) ภายใต้เกณฑ์หุ้นกู้ต้องมีอายุไม่เกิน 1 ปี ซึ่งปัจจุบันหุ้นกู้รุ่นดังกล่าวครบกำหนดไปแล้ว หลังจากนั้นผู้ออกรายถัดมาคือ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย(KBANK) มีการออกหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นดิจิทัลเทรนด์ที่เกิดขึ้นยุคแรก

ต่อมาในช่วงปี 2563 เริ่มมีธนาคารพาณิชย์อย่าง บมจ.ซีไอเอ็มบีไทย(CIMBT) นำโมบายแอปพลิเคชั่น(mobile application) มาเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อหุ้นกู้ โดยไม่ต้องเดินทางมายังสาขาธนาคาร แม้อยู่ในช่วงสถานการณ์ล็อกดาวน์ช่วงการระบาดโควิด สามารถกดจองซื้อผ่านโมบายแอปฯ ได้อย่างสะดวก


และต่อมาประมาณช่วงเดือน มิ.ย.63 กระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทย(KTB) เสนอขายพันธบัตรออมทรัพย์ (Saving Bond) มูลค่า 200 ล้านบาท ผ่านวอลเล็ต สบม. บนแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" เป็นครั้งแรก และถือเป็นบล็อกเชน(RSP1) เหมือนกับสมาคมฯได้ดำเนินการก่อนหน้านี้ แต่ใช้กับพันธบัตรรัฐบาลโดยธนาคารกรุงไทยเป็นผู้พัฒนาแอปฯ และถัดมาในปี 2564 ได้ดำเนินการออกขายพันธบัตรออมทรัพย์อีกหลายรอบ

เรียงคิวเปิดจองซื้อหุ้นกู้ บนโมบายแอปฯ
ปัจจุบันเริ่มเห็นแบงก์ใหญ่เปิดให้จองซื้อหุ้นกู้ผ่านโมบายแอปพลิเคชั่นกันหมด ซึ่งทำให้นักลงทุนแทบไม่ต้องเดินทางออกจากบ้านเลย โดยเทรนด์ปี 2564 ที่มีการเสนอขายหุ้นกู้ผ่านแอปฯ มีอยู่อย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่

เดือน เม.ย.64 บมจ.เอสซีจี แพคเกจจิ้ง (SCGP) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 5,500 ล้านบาท
เดือน พ.ค.64 บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น (TRUE) จำนวน 4 รุ่น มูลค่า 22,000 ล้านบาท
เดือน พ.ค.64 บมจ.ไออาร์พีซี (IRPC) จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 4,000 ล้านบาท
เดือน มิ.ย.64 บมจ.ซีพีออลล์ (CPALL) จำนวน 7 รุ่น มูลค่า 66,000 ล้านบาท
เดือน มิ.ย.64 บมจ.ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (MINT) จำนวน 3 รุ่น มูลค่า 10,000 ล้านบาท






และล่าสุด บมจ.แสนสิริ(SIRI) ที่เพิ่งเสนอขายหุ้นกู้แสนสิริ i-EASY เมื่อช่วงเดือน ก.ย.64 บนโมบายแอปพลิเคชั่น SCB EASY สัดส่วน 100% จำนวน 1 รุ่น มูลค่า 500 ล้านบาท จ่ายดอกเบี้ย 3% ต่อปี จองขั้นต่ำแค่ 10,000 บาท ขณะที่ช่วงเดือน พ.ย.64 ที่จะถึงนี้ บมจ.ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) ซึ่งจะเสนอขายหุ้นกู้ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต บนแอปพลิเคชั่น "เป๋าตัง" ร่วมกับธนาคารกรุงไทย


คาดต้นทุนผู้จัดจำหน่ายหุ้นกู้ลดลงในระยะยาว
"ต่อไปการเสนอขายหุ้นกู้บนดิจิทัลจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลงสำหรับธนาคารผู้จัดจำหน่ายในระยะยาว เพราะไม่ต้องพิมพ์เอกสารและไม่ต้องจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ สามารถทำทุกอย่างผ่าน Mobile Device" นางสาวอริยา กล่าว

ส่วนการเสนอขายหุ้นกู้ดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งจะเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้คือ ตัวบล็อกเชน ซึ่งอาจจะมีความซับซ้อน(การกระจายศูนย์) เพราะฉะนั้นเวลามีการซื้อขายเกิดขึ้นจริง สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ทันทีระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย ไม่ต้องรอวันปิดสมุดทะเบียน แต่ด้วยกฎหมายตอนนี้อาจจะยังไม่ได้ไปถึงจุุดนั้น แต่ปัจจุบันถือเป็นโครงการนำร่อง ซึ่งต้นทุนการเสนอขายผ่านระบบดิจิทัลวอลเล็ตอาจจะยังแพง เพราะอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ระยะยาวเชื่อว่าต้นทุนโดยรวมน่าจะลดลง และทำให้นักลงทุนน่าจะมีความสะดวกเพิ่มมากขึ้น

พัฒนาแอปฯ สำรวจดีมานด์นักลงทุน รับเทรนด์ขายหุ้นกู้
"เราเชื่อว่าเทรนด์การขายหุ้นกู้บนดิจิทัลจะมีเพิ่มมากขึ้น จึงมองเห็นช่องทางการพัฒนาแอปพลิเคชั่น Electronic Book Build Platform ซึ่งเป็นการต่อยอดจากเดิมเวลาเสนอขายหุ้นกู้ ที่ผ่านมานักลทุนจะต้องส่งแฟ็กซ์หรืออีเมล์จองซื้อหุ้นกู้ และจะมีให้กรอกข้อมูลเพื่อสำรวจความต้องการตามอัตราดอกเบี้ยที่จ่าย เพื่อเป็นการสำรวจความต้องการนักลงทุนสถาบัน และทางอันเดอร์ไรเตอร์มารวมกันเพื่อนำข้อมูลนั้นเอามารวมมูลค่า ประเมินอัตราดอกเบี้ยที่จะทำให้เกิดดีมานด์สูงสุดของการเสนอขาย (เดิมทำด้วยมือผ่านโปรแกรม Excel)

ซึ่งต่อไปทุกอย่างจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด นักลงทุนไม่ต้องมานั่งส่งแฟ็กซ์หรืออีเมล์ และเซ็นเอกสาร ต่อไปทุกอย่างทำผ่านระบบแอปพลิเคชั่น อันเดอร์ไรเดอร์พิจารณาผ่านหน้าจอ ซึ่งจะช่วยคาวมสะดวกในอนาคต สอดรับเทรนด์การเสนอขายหุ้นกู้บนดิจิทัล" นางสาวอริยา กล่าว