• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

เทียบชัดๆ! ชิลีเผยประสิทธิภาพโลกจริงวัคซีนไฟเซอร์ แอสตร้าฯ

Started by Jessicas, August 05, 2021, 04:15:00 AM

Previous topic - Next topic

Jessicas



วัคซีนโควิด-19 ของซิโนแวค มีประสิทธิภาพ 58.5% ในการป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 แบบแสดงอาการในประชาชนชาวชิลีที่ได้รับวัคซีนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขชิลีในวันอังคาร (3 ส.ค.) ขณะที่ไฟเซอร์มีประสิทธิภาพ 87.7% และแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพ 68.7% แต่สุดท้ายเชื่อว่าวัคซีนทุกตัวคงต้องฉีดเข็ม 3 รับมือกับตัวกลายพันธุ์เดลตา

ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลล่าสุดที่เผยแพร่โดยกระทรวงสาธารณสุข เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนต่างๆ จากการใช้งานจริงกับประชาชนชาวชิลี

ชิลีเป็นหนึ่งในชาติที่เริ่มโครงการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนรวดเร็วที่สุดในโลก โดยพวกเขาเริ่มฉีดวัคซีนแก่ประชาชนในเดือนธันวาคม และเวลานี้มีประชาชนชาวชิลีที่ฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้วคิดเป็นสัดส่วนกว่า 60% ของจำนวนประชากร ส่วนใหญ่ฉีดวัคซีนโคโรนาแวค ของบริษัทสัญชาติจีน "ซิโนแวค"

นายแพทย์ราฟาเอล อาราออส เจ้าหน้าที่สาธารณสุขกล่าวระหว่างแถลงข่าวในวันอังคาร (3 ส.ค.) ว่าวัคซีนโคโรนาแวค มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อเข้าโรงพยาบาล 86% ป้องกันการป่วยหนักถึงขึ้นเข้าห้องไอซียู 89.7% และป้องกันการเสียชีวิต 86% ในบรรดาประชาชนที่ฉีดวัคซีนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม

ในเดือนเมษายน ผลการศึกษาเดียวกันพบว่าโคโรนาแวค มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ 67% ป้องกันการติดเชื้อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 85% และป้องกันการเสียชีวิต 80% จากตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าพอเวลาผ่านไปมันยังคงมีประสิทธิภาพระดับสูงในการป้องกันการป่วยหนัก แต่ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการลดลง

อาราออส ระบุว่า พอเวลาผ่านไป ประสิทธิภาพการป้องกันที่ลดลงของวัคซีนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการคืบคลานเข้ามาและอัตราความชุกของตัวกลายพันธุ์ต่างๆ อย่างเช่นตัวกลายพันธุ์เดลตา

"ถ้าเดลตาแพร่ระบาดมากกว่านี้และวัคซีนก่อการตอบสนองที่อ่อนแอลง เราอาจได้เห็นประสิทธิภาพของวัคซีนลดลงเร็วกว่านี้" เขากล่าว พร้อมส่งเสียงเรียกร้องขอวัคซีนเข็มที่ 3 หรือวัคซีนเข็มกระตุ้น ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันในเวลานี้

รัฐบาลยังเผยแพร่ข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีนตัวอื่นๆ ที่ฉีดในชิลี ได้แก่ ไฟเซอร์/ไบออนเทค และแอสตร้าเซนเนก้า

นายแพทย์อาราออส ระบุว่า วัคซีนของไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ 87.7% ในช่วงเวลาเดียวกัน มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้ออาการหนักเข้าห้องไอซียู 98% และป้องกันการเสียชีวิต 100%

ส่วนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อแบบแสดงอาการ 68.7% ในช่วงเวลาเดียวกัน มีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้ออาการหนักเข้าห้องไอซียู 98% และป้องกันการเสียชีวิต 100% เช่นกัน จากการเปิดเผยของอาราออส

การศึกษาของชิลี เป็นการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มประชากรต่างๆ ที่ทั้งได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ได้รับ 1 เข็ม หรือยังไม่ได้ฉีดวัคซีน

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าในการวิจัยนั้น วัคซีนซิโนแวคมีกลุ่มประชากรเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษามากถึง 8.6 ล้านคน ไฟเซอร์/ไบออนเทค ใช้กลุ่มประชากร 4.5 ล้านคน และแอสตร้าเซนเนก้า ศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนจากประชาชน 2.3 ล้านราย

(ที่มา : รอยเตอร์)