• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ADD ส่งซิกปี 66 กลับมาโตรับอุตฯคอนเท้นท์คึกคัก ขยายลงทุนต่อยอดธุรกิจ

Started by Cindy700, November 14, 2022, 08:54:55 PM

Previous topic - Next topic

Cindy700


นายสมโภช ทนุตันติวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน บมจ. แอดเทค ฮับ (ADD) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมในปี 2566 จะมีการฟื้นตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น ตามเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่มีแนวโน้มคึกคักมากขึ้นจากการกลับสู่สภาวะปรกติหลัง COVID และปัญหาเงินเฟ้อลดลง อีกทั้งผู้เล่นในตลาดมือถือน่าจะแข่งขันกันน้อยลง ก็น่าจะช่วยให้รายได้และกำไรของอุตสาหกรรมดีขึ้น

ทั้งนี้สำหรับในปี 2566 บริษัทฯวางเกมรุกผ่านการขับเคลื่อนภายใต้ 2 กลยุทธ์ คือ ทั้ง Organic และ Inorganic โดยกลยุทธ์ด้าน Organic คือ การเติบโตจากการดำเนินงานภายใต้ธุรกิจเดิม โดยการขยายโปรเจคคอนเทนต์และโซลูชั่นใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มฐานรายได้จากโปรเจคที่ทำกับค่ายมือถือต่าง ๆ ให้มั่นคงมากขึ้น จากที่มีการชะลอการใช้จ่ายของกลุ่มผู้บริโภคที่ลดลงตามสภาวะเศรษฐกิจ

ในขณะที่กลยุทธ์ด้าน Inorganic คือ การเติบโตจากภายนอก ซึ่งจะเป็นการมองหาการลงทุนในกลุ่มบริษัทใหม่ ๆ เพิ่มเติม เพื่อต่อยอดธุรกิจและเป็นการกระจายความเสี่ยงลดการพึ่งพิงรายได้จากค่ายมือถือแต่เพียงอย่างเดียว ที่สำคัญยังสามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพในการรับงานโปรเจคใหม่ ๆ ของบริษัท นอกจากการให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์

ทั้งนี้หากแผนการวางกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าที่วางไว้ก็จะส่งผลให้ภาพรวมของผลการดำเนินงานทางธุรกิจของ ADD ในปี 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ

ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ADD ยังได้กล่าวถึงการเข้าไปลงทุนในบริษัท เซเว่น คอนเนค แอดไวซอรี่ จำกัด (7C) ซึ่งดำเนินธุรกิจเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี การวางระบบควบคุมภายใน การปรับโครงสร้างกิจการ การควบรวมกิจการ และที่ปรึกษาในการเตรียมตัวเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่า การลงทุนดังกล่าวจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่คุ้มค่าและมีนัยสำคัญให้กับ ADD ได้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งกล่าวยอมรับว่า การเข้าลงทุนใน "7C" ในช่วงที่ผ่านมา เป็นการต่อยอดและสร้างโอกาสการเติบโตทางธุรกิจ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มในเรื่องของผลการดำเนินงานของบริษัทฯให้เติบโตได้อย่างมั่นคงมากขึ้นในอนาคต

ขณะเดียวกัน ยังสามารถต่อยอดความรู้ด้านเทคโนโลยีของบริษัทฯ ในการนำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัล (Digital Transformation) เข้ามาช่วยในการวางรากฐานระบบการทำงานและการดำเนินธุรกิจ ให้แก่บริษัทที่กำลังเตรียมตัวเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเสริมสร้างกันทางธุรกิจในระยะยาว

นอกจากนื้บริษัทฯอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการเข้าลงทุนในธุรกิจด้านเทคโนโลยี (IT) เพิ่มเติม ทั้งนี้เพื่อเสริมศักยภาพในการขยายงานโครงการ IT ใหม่ๆ และถือเป็นการสอดรับกับการต่อยอด ในการให้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน

ล่าสุดที่ประชุมบอร์ดได้มีมติเข้าลงทุนใน บริษัท ไฮเว็บ เทคโนโลยี (ไทยแลนด์) จำกัด (HWTHAI) โดยการซื้อหุ้นเพิ่มทุน จำนน 60,000 หุ้น ราคาหุ้นละ 100 บาท คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนรวม 6 ล้านบาท จาก Hyweb Technology Co., Ltd (HT) ส่งผลให้ ADD มีสิทธิในการถือหุ้นใน HWTHAI ในสัดส่วนร้อยละ 60 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด และด้าน Hyweb Technology Co.,Ltd (HT) จะมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือร้อยละ 40

สำหรับ Hyweb Technology Co.,Ltd (HT) เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำในไต้หวัน โดยก่อตั้งในปี 2541 และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ไต้หวันในปี 2546 โดย HT เป็นผู้ให้บริการโซลูชั่นครบวงจรให้แก่ ธนาคาร รัฐบาล ห้องสมุด และบริษัทในหลากหลายอุตสาหกรรม โดย HT มีความเชี่ยวชาญในการวิจัย และพัฒนาระบบและซอฟต์แวร์หลากหลายประเภท ซึ่งจะเป็นการต่อยอดธุรกิจของ ADD ได้อย่างลงตัว

ส่วนผลการดำเนินงานในไตรมาส 3/65 บริษัทฯ มีรายได้จากการให้บริการ จำนวน 72.11 ล้านบาท ลดลง 41.99% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผู้ใช้บริการมีการใช้จ่ายเพื่อใช้บริการดิจิทัลคอนเทนต์โดยเฉลี่ยลดลง ถึงแม้ว่าจำนวนผู้ใช้บริการดิจิทัลคอนเทนต์โดยเฉลี่ยแล้วมีจำนวนเพิ่มขึ้นก็ตาม โดยในไตรมาส 3/2565 จำนวนผู้ใช้บริการดิจิทัลคอนเทนต์ เฉลี่ย 5.79 ล้านรายต่อเดือน เพิ่มจากไตรมาส 3/64 ซึ่งมีจำนวนเฉลี่ย 5.09 ล้านรายต่อเดือน คิดเป็นเพิ่มขึ้น 13.66% ขณะที่กำไรขั้นต้นมีจำนวน 20.62 ล้านบาท ลดลง 45.24% โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 28.60% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 30.30% ส่งผลให้มีกำไรสุทธิที่ระดับ 9.29 ล้านบาท

สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2565 รายได้จากการให้บริการ มีจำนวน 262.20 ล้านบาท ลดลง 32.26% และกำไรสุทธิ 44.16 ล้านบาท แม้จำนวนผู้ใช้บริการดิจิทัลคอนเทนต์มีจำนวนเฉลี่ย 6.44 ล้านรายต่อเดือน เพิ่มขึ้น 49.67 % จากช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขณะที่กำไรขั้นต้นมีจำนวน 77.04 ล้านบาท ลดลง 36.19% โดยมีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 29.38% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นเท่ากับ 31.19%

โดยสาเหตุหลักของการใช้จ่ายลดลงมาจากสภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ประสบกับภาวะเงินเฟ้อทำให้กำลังซื้อขงผู้บริโภคลดลง ประกอบกับความกังวลของผู้ใช้บริการที่มีต่อภาวะเงินเฟ้อในอนาคตจึงทำให้ผู้ใช้บริการมีการระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมธุรกิจในปี 2565 บริษัทฯพยายามมุ่งรักษาระดับอัตรากำไรสุทธิให้ใกล้เคียง 20% เช่นเดิม จากการรักษาฐานรายได้จากการให้บริการไปในทิศทางเดียวกันกับอุตสาหกรรมมือถือที่ค่อนข้างทรงตัว