• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ครม.ผ่านกรอบกฟภ.กู้ระยะสั้น 5 พันล้าน อนุมัติงบกลาง 3,810 ล้าน

Started by Chanapot, September 29, 2021, 10:03:01 AM

Previous topic - Next topic

Chanapot



วันนี้ (28ก.ย.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบกรอบวงเงินกู้เงินระยะสั้น(Credit Line) ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)จำนวน 5,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี เพื่อให้กฟภ.สามารถบริหารสภาพคล่องทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมหากมีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน

ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า กฟภ.มีบทบาทสำคัญในการดำเนินมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจคิดเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณ 22,815.30 ล้านบาท ส่งผลให้กฟภ.มีแนวโน้มขาดสภาพคล่องจากการที่ไม่สามารถติดตามจัดเก็บค่าไฟฟ้าได้ ซึ่งจากประมาณการเงินสดประจำปี 2563-2565 ในช่วงเดือนมิถุนายน-ธันวาคม 2564 พบว่ากฟภ.มีความต้องการเงินทุนหมุนเวียนประมาณ 5,325.16-7,946.44 ล้านบาท

ขณะที่กฟภ.มีลูกหนี้ค่าไฟฟ้าค้างสะสม ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 รวมเป็นเงินประมาณ 42,427.59 ล้านบาท แยกเป็นส่วนราชการ 4,411.64 ล้านบาท ,เอกชนรายใหญ่ 25,230.99 ล้านบาท และเอกชนรายย่อย 12,784.96 ล้านบาท

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวว่า คณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,810 ล้านบาท ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ เนื่องจากค่าวัสดุอาหารไม่เพียงพอ

โดยกระทรวงยุติธรรมระบุว่า กรมราชทัณฑ์ ได้รับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายจริง ทำให้ยังคงมีหนี้ค่าวัสดุอาหารผู้ต้องขัง ผู้ต้องกักขัง และผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ จำนวน 3,810 ล้านบาท ซึ่งการมีหนี้ค้างชำระดังกล่าวเป็นเวลานานจะสร้างความเดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจกับผู้ขาย ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของส่วนราชการ

ทั้งนี้กรมราชทัณฑ์ได้จัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายการค่าวัสดุอาหาร ปีงบประมาณ 2564 จากฐานผู้ต้องขังจำนวน 300,000 คน แต่ได้รับจัดสรรโดยคำนวณจากฐานผู้ต้องขัง 223,300 คน และค่าวัสดุอาหารผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์จากฐานจำนวน 4,000 คน แต่ได้รับการจัดสรรจากฐาน 2,500 คน โดยในปี 2564 มีจำนวนผู้ต้องขังเฉลี่ยตลอดปีงบประมาณจำนวน 328,344 คน และผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์จำนวน 3,355 คน ซึ่งมากกว่าฐานที่ใช้ในการคำนวณในการจัดสรรงบประมาณ ประกอบกับได้มีการปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเป็นค่าวัสดุอาหารผู้ต้องขังค้างชำระ ปีงบประมาณ 2563 จึงคงเหลืองบประมาณเพื่อเบิกจ่ายค่าวัสดุอาหารผู้ต้องขังปีงบประมาณ 2564 ไม่เพียงพอ จำนวน 3,810 ล้านบาท