• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 33.33 ทรงตัวจากช่วงเช้า ตลาดไร้ปัจจัยใหม่

Started by Hanako5, April 03, 2022, 10:58:26 PM

Previous topic - Next topic

Hanako5

ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 33.33 ทรงตัวจากช่วงเช้า ตลาดไร้ปัจจัยใหม่ คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.20-33.40

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.33 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียงกับช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 33.32 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวค่อนข้างกว้างที่ 33.19 - 33.39 บาท/ดอลลาร์ เป็นไปตามแรง ซื้อขายทั่วไป

เงินบาทวันนี้ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่เข้ามา โดยระยะนี้ยังต้องติดตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (บอนด์ยิลด์) ของสหรัฐ ตลอดจนสถานการณ์ราคาน้ำมัน รวมทั้งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐ ในคืนวันพรุ่งนี้

"วันนี้บาทเคลื่อนไหวค่อนข้างกว้าง แต่ก็เป็นไปตามแรงซื้อขายทั่วไป ยังไม่มีปัจจัยใหมเข้ามา" นักบริหารเงินระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20 - 33.40 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.2992 บาท/ดอลลาร์

ปัจจัยสำคัญ
เงินเยนอยู่ที่ระดับ 121.89 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 121.68 เยน/ดอลลาร์
เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1129 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1136 ดอลลาร์/ยูโร
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยภาวะเศรษฐกิจไทยในเดือน ก.พ.65 ยังอยู่ในทิศทางของการฟื้นตัว โดยการส่ง
ออกสินค้าปรับเพิ่มขึ้นบ้างตามอุปสงค์ต่างประเทศที่ปรับดีขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน การบริโภคและการลงทุนของ
ภาคเอกชนลดลงเล็กน้อย เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน สำหรับการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว
จากทั้งรายจ่ายประจำและรายจ่ายลงทุนของรัฐบาลกลาง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานและอาหารสด ดุลบัญชีเดินสะพัด
ขาดดุลน้อยลงจากเดือนก่อนตามดุลการค้าที่เกินดุลเพิ่มขึ้น ขณะที่ดุลรายได้ บริการ และเงินโอนยังขาดดุลต่อเนื่อง
ธปท.ชี้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/65 ภาพรวมยังฟื้นตัวได้ แต่ไม่ได้หวือหวาเมื่อเทียบไตรมาส 4/64 เนื่องจากได้รับผล
กระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน แต่ปัจจัยต่าง ๆ ยังอยู่ในช่วงคาดการณ์ ขณะที่เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/65
คาดว่าฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัจจัยบวกจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องติดตาม ทั้งการแพร่ระบาด ปัญหารัสเซีย-
ยูเครน ความเชื่อมั่นนักลงทุน ซึ่งส่งผลต่อราคาพลังงาน การเพิ่มขึ้นของราคาต้นทุนและราคาสินค้า ดังนั้นจะต้องติดตามการส่งผ่านอย่าง
ใกล้ชิด แต่ก็ยังไม่ได้เห็นการกระจายตัวเป็นวงกว้าง
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยว่า มาตรการคว่ำบาตรทางการเงินที่ชาติตะวันตกใช้ลงดาบรัสเซียอาจ
ลดทอนความสำคัญของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ และอาจส่งผลให้ระบบการเงินโลกมีการกระจายตัวมากขึ้น
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าบริเวณกรอบล่างของช่วง 122 เยน โดยนักลงทุนเข้าซื้อเงินดอลลาร์หลังคาดการณ์ว่า ส่วน
ต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐกับญี่ปุ่นจะกว้างขึ้นอีก หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าจะพยายามรับมือกับผล
ตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นที่พุ่งสูงขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานในวันนี้ว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตและภาคบริการหดตัวลง
ในเดือนมี.ค. อยู่ที่ระดับ 49.5 ลดลงจากระดับ 50.2 ในเดือนก.พ. เนื่องจากเศรษฐกิจจีนถูกกระทบจากการใช้มาตรการควบคุมการ
แพร่ระบาดของโรคโควิด-19
หัวหน้าฝ่ายระบบการชำระหนี้ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กล่าวว่า ธนาคารกลางในกลุ่ม G7 จำเป็นต้องเร่งสร้าง
กรอบการดำเนินงานที่เป็นไปในทางเดียวกัน เพื่อควบคุมดูแลสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากสงครามยูเครนอาจทำให้รัสเซียใช้คริปโทเคอร์เรนซี
เป็นช่องทางในการหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร