• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สนข.กาง 4 แผนหลักสานต่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม

Started by PostDD, March 20, 2022, 03:10:26 PM

Previous topic - Next topic

PostDD

สนข.กาง 4 แผนหลักสานต่อการขับเคลื่อนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
 
นายปัญญา ชูพานิชย์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในปี 65 มีแผนงานในการขับเคลื่อนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมที่สานต่อจากปี 64 หลายโครงการ ได้แก่ 1.แผนแม่บท MR-MAP เพื่อบูรณาการวางแผนพัฒนาโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบราง (MR-MAP) ช่วยลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดินและผลกระทบอื่นที่มีต่อประชาชนจากการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ส่งเสริมการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยมีสรุปผลการศึกษาแนวโครงข่าย ศึกษาเส้นทางนำร่อง 3 เส้นทาง และจัดทำร่างแผนแม่บทโครงข่าย MR-MAP แล้ว ส่วนในปี 65 จะมีการศึกษา Pre-Feasibility Study เส้นทางในโครงข่ายเพิ่มเติม ครบ 10 เส้นทาง และออกแบบรายละเอียดโครงการนำร่อง โดยกรมทางหลวง (ทล.)

2.สะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (แลนด์บริดจ์ชุมพร-ระนอง) เป็นการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน วงเงินศึกษารวม 67.8156 ล้านบาท

ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษาและคัดเลือกทำเลที่ตั้งโครงการในส่วนของท่าเรือที่เหมาะสม โดยมีทางเลือกท่าเรือฝั่ง จ.ระนอง 3 จุด ท่าเรือฝั่ง จ.ชุมพร 3 จุด ซึ่งขณะนี้เตรียมสรุปข้อดี-ข้อเสียของแต่ละแนวทางเสนอต่อ รมว.คมนาคม ภายในเดือน มี.ค.นี้ เพื่อนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีตัดสินใจเลือกตำแหน่งท่าเรือที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยคาดว่าจะมีการประชุมร่วมกันในสัปดาห์หน้าเพื่อพิจารณาในประเด็น สิ่งแวดล้อม พื้นที่ป่าไม้ และกรณีมรดกโลก โดยในปี 65 สนข.จะศึกษาการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ออกแบบ Conceptual design ของท่าเรือ จากนั้นจึงเป็นการจัด Market Sounding ทดสอบความสนใจนักลงทุน เพื่อหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม จากนั้นจะมีการจัดโรดโชว์ตั้งแต่ช่วงเดือน มิ.ย.65 เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้มีทูตจากหลายประเทศเข้าพบและแสดงความสนใจโครงการแลนด์บริดจ์นี้อย่างมาก ส่วนในปี 66 จะเป็นการ Business Model การทำเอกสาร RFP ต่างๆ

โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะนำเสนอโครงการแลนด์บริดจ์สู่เวทีโลกในเวทีการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค 2565 หรือ APEC 2022 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เพื่อดึงดูดนักลงทุน ดังนั้น สนข.จะต้องเตรียมข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อให้ทราบถึงรายละเอียดและประโยชน์ของโครงการ

ซึ่งในหลักการ ท่าเรือทั้ง 2 ฝั่งจะต้องมีขีดความสามารถรองรับสินค้าได้อย่างน้อย 40 ล้านตู้ต่อปี เทียบกับท่าเรือสิงคโปร์โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรกจะรองรับเริ่มต้นที่ 15 ล้านตู้ต่อปี ดังนั้นการเลือกพื้นที่จุดที่ตั้งท่าเรือจะต้องรองรับขีดความสามารถ ที่ 40 ล้านตู้ต่อปี รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกและนิคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆ การพัฒนาพื้นที่หลังท่า ซึ่งเป็นส่วนสร้างมูลค่าเพิ่มให้โครงการ และเกิดการจ้างงานและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องการท่องเที่ยวอีกด้วย เพื่อโรดโชว์ให้นักลงทุนทั่วโลกรับทราบว่าประเทศไทยมีโครงการแลนด์บริดจ์ซึ่งจะเป็นการเปิดประมูลนานาชาติ รูปแบบรัฐร่วมทุนกับเอกชน ( PPP ) โดยเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าร่วมลงทุนได้ เนื่องจากเป็นแพคเกจใหญ่ มูลค่าสูง เนื่องจากต้องลงทุนทั้งในส่วนของท่าเรือ ระบบราง และมอเตอร์เวย์ รวมถึงนิคมอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าการลงทุน โดยจะมีการออกกฎหมายใหม่เป็นการเฉพาะ โดยนำโมเดลการพัฒนาโครงการในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งมีพระราชบัญญัติอีอีซี ดำเนินการเป็นการเฉพาะ มาพิจารณาว่าในส่วนของการพัฒนาแลนด์บริดจ์มีประเด็นกฎหมายที่ต้องเพิ่มเติมอีกหรือไม่

"เป้าหมายเพื่อให้แลนด์บริดจ์เป็นเส้นทางใหม่ในการเดินทางขนส่งสินค้าของโลก จากการศึกษาอีก 10 ปีข้างหน้าคาดว่าช่องแคบมะลาจะเต็ม เพราะมีข้อจำกัดที่เป็นช่องแคบ เรือต้องรอ 3-4 วัน เพื่อผ่านไปซึ่งประเมินถึงโอกาสในอนาคตของแลนด์บริดจ์ ที่จะมีท่าเรือระนอง และขนถ่ายสินค้าด้วยระบบราง เชื่อมต่อไปยังท่าเรือ ชุมพร ขณะที่สายเรือก็เดินเรือระยะทางสั้นลง ไม่ต้องแล่นอ้อมไปมะละกา" นายปัญญา กล่าว
3.โครงการเชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า (Feeder) ปัจจุบันมีการเชื่อมต่อรถโดยสารประจำทางกับรถไฟฟ้าสายสีแดงแล้วจำนวน 62 เส้นทาง นอกจากนี้ คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ยังได้ให้ความเห็นชอบแผนการดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อการเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) ใน 3 เส้นทาง ได้แก่ สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง-ธัญญบุรีคลอง 7 สถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง-ม.ธรรมศาสตร์ และสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง-แยก คปอ. และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเดินรถในเส้นทางนำร่องได้ภายในปี 65 นี้

ด้านการเชื่อมต่อท่าเรือ มีการดำเนินการแผนระยะเร่งด่วนปี 65-66 โดยพัฒนาจุดเชื่อมต่อ ล้อ-ราง-เรือ รวม 12 จุด ได้แก่ ท่ารามหนึ่ง ท่าอโศก ท่าสะพานหัวช้าง ท่าประตูน้ำภาษีเจริญ ท่าบางหว้า ท่าเพชรเกษม 31 ท่าเพชรเกษม 35 ท่าสถานีรถไฟหัวลำโพง ท่าสะพานพระนั่งเกล้า ท่าบางโพ ท่าราชินี ท่าสาทร โดยปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ / ป้ายบอกทิศทาง และป้ายแนะนำการเดินทาง / จัดสิ่งอำนวยความสะดวกเข้า-ออกท่าเรือ สถานีรถไฟฟ้าและระบบขนส่งสาธารณะอื่น

4.การจัดทำสายการเดินเรือแห่งชาติ ปัจจุบันมีการหารือผู้ประกอบการ เพื่อทราบข้อมูลสินค้า ปริมาณสินค้า โดยเสนอผลการศึกษาฯ ต่อคณะกรรมการฯ ที่เกี่ยวข้อง และ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว จากนั้นจึงจัดตั้งบริษัทสายการเดินเรือแห่งชาติ และขอใบอนุญาตดำเนินงาน เพื่อเร่งรัดให้สามารถเปิดให้บริการเส้นทาง Domestic เชื่อมอ่าวไทยได้ภายในปี 65

สำหรับการพัฒนาระบบราง มีโครงการที่น่าสนใจ ได้แก่ 1.การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง/ทางคู่ (TOD) จากผลการศึกษาพบว่ามีพื้นที่ที่มีศักยภาพอยู่ทั่วประเทศถึงกว่า 177 แห่ง วงเงินลงทุน 64,000 ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างเตรียมเสนอ คค. และ ครม. พิจารณา ก่อนมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแปลงไปสู่การปฏิบัติต่อไป นอกจากนี้ สนข. ยังมีแผนผลักดันการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟ เช่น สถานีรถไฟธนบุรี พื้นที่ 21 ไร่ สถานีรถไฟหัวหิน พื้นที่ 575 ไร่ และย่านบางซื่อแปลง A และ E รวมพื้นที่ 160 ไร่ ด้วย

2.การพัฒนาระบบตั๋วร่วม เพื่อสนับสนุนสังคมไร้เงินสด เพิ่มการใช้ระบบรถไฟฟ้า ช่วยลดปัญหาการจราจร และลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลนั้น ปัจจุบันได้มีการเปิดให้ประชาชนใช้ระบบ EMV ในการจ่ายค่าโดยสารในระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงแล้ว และในปีนี้จะขยายผลสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงต่อไป

นอกจากนี้ การประชุม ครม.เมื่อวันที่ 19 ต.ค.64 ได้มอบกระทรวงคมนาคมศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาเส้นทางถนนเพื่อการท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งอันดามัน โดย รมว.คมนาคม ได้มอบหมายให้ สนข. ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและสำรวจออกแบบเบื้องต้นเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามันครอบคลุมจังหวัด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ระยะทาง 600 กม. ใช้งบศึกษา 80 ล้านบาท ระยะเวลา 1-1 ปีครึ่ง คาดว่าเริ่มศึกษาเดือน ต.ค.65 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของประเทศ