• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

สมาคมธุรกิจสหรัฐฯกว่า 30 แห่ง ออกโรงกดดัน ‘ไบเดน’ ให้ทำข้อตกลงการค้ากับ‘จีน’

Started by luktan1479, August 16, 2021, 08:48:04 PM

Previous topic - Next topic

luktan1479



ภาษีศุลกากรจัดเก็บเอากับสินค้านำเข้าจากประเทศจีนซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยของโดนัลด์ ทรัมป์ กำลังเป็นเชื้อเพลิงทำให้อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯขึ้นสู่งเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกันก็คุกคามโอกาสของพรรคเดโมแครตของไบเดน ในการชนะเลือกตั้งกลางสมัยปี 2022

นิวยอร์ก - ในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐฯ ไม่เคยปรากฏมาก่อนเลยที่ทั่วทั้งประชาคมธุรกิจอเมริกัน –องค์กรทางธุรกิจขนาดใหญ่ๆ มากกว่า 30 แห่ง – พูดออกมาเป็นเสียงเดียวกัน อย่างที่พวกเขาได้กระทำในคำร้องเรียนถึงคณะบริหารไบเดนเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม เพื่อขอให้ยกเลิกภาษีศุลกากรที่เรียกเก็บจากสินค้านำเข้าจากประเทศจีน

ในการเมืองอเมริกัน ไม่มีบุคคลหรือกลุ่มองค์กรไหนอีกแล้วที่ขี้ขลาดตาขาวยิ่งไปกว่าพวกล็อบบี้เพื่อรักษาผลประโยชน์ของแวดวงธุรกิจ พวกเขาเหล่านี้แทบทั้งหมดทำงานแบบมุ่งล็อบบี้กันเงียบๆ เพื่อให้มีการผ่อนคลายมาตรการของฝ่ายบริหารและปรับเปลี่ยนน้ำหนักของกฎหมายข้อบังคับต่างๆ ดังนั้น การออกมาเรียกร้องแบบเป็นข่าวเกรียวกราวเช่นนี้ จึงบ่งบอกให้เห็นว่า พวกองค์กรธุรกิจเหล่านี้เชื่อว่าเวลานี้กำลังมีการเดินหน้าเพื่อทำข้อตกลงกันอยู่แล้ว

การตกลงกันน่าที่จะเกิดขึ้น สืบเนื่องจากภาวะเงินเฟ้ออาจจะกลายเป็นยาพิษที่ทำลายโอกาสของพรรคเดโมแครตในการชนะการเลือกตั้งกลางสมัยปี 2022 และต้องคืนอำนาจควบคุมรัฐสภาสหรัฐฯไปให้แก่พรรครีพับลิกัน การตัดลดอัตราภาษีศุลกากรนี่แหละ คือหนทางอันรวดเร็วที่สุดในการลดเงินเฟ้อ นอกเหนือจากเรื่องเลขคณิตของการเมืองเพื่อการเลือกตั้งแล้ว ฉันทามติอย่างหนึ่งกำลังปรากฏโฉมออกมาให้เห็น ซึ่งได้แก่ความคิดเห็นที่ว่า มาตรการแซงก์ชั่นด้านเทคโนโลยีที่ ทรัมป์ นำมาบังคับใช้กับจีนนั้น ประสบความล้มเหลว และแม้กระทั่งอาจจะทำให้เกิดผลเสียหายย้อนกลับคืนสหรัฐฯเองอีกด้วย

กลุ่มธุรกิจต่างๆ มากกว่า 30 กลุ่ม ในจำนวนนี้มีทั้ง หอการค้า (Chamber of Commerce), กลุ่มโต๊ะกลมธุรกิจ (Business Roundtable สมาคมของพวกประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบรรดาบริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ -ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://en.wikipedia.org/wiki/Business_Roundtable), สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) ตลอดจนตัวแทนของอุตสาหกรรมขายปลีก, การเกษตร, และอุตสาหกรรมการผลิต ร่วมกันทำหนังสือร้องเรียนให้ไบเดนตัดลดภาษีศุลกากร และเปิดการหารือทางการค้ากับจีนขึ้นมาใหม่

หนังสือฉบับนี้ระบุว่า "วาระการค้าที่มุ่งถือคนงานเป็นศูนย์กลาง (worker-centered trade agenda คณะบริหารไบเดนถือเรื่องนี้เป็น ส่วนประกอบสำคัญในนโยบายการค้าของตน ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://ustr.gov/sites/default/files/files/reports/2021/2021%20Trade%20Agenda/2021%20Trade%20Report%20Fact%20Sheet.pdf -ผู้แปล) ควรต้องคำนึงถึงต้นทุนค่าใช้จ่ายซึ่งภาษีศุลกากรของสหรัฐฯและของจีนบังคับเรียกเอากับชาวอเมริกันภายในสหรัฐฯ และต้องยกเลิกภาษีศุลกากรที่สร้างอันตรายให้แก่ผลประโยชน์ต่างๆ ของสหรัฐฯ"

เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐมนตรีคลัง เจเนต เยลเลน (Jenet Yellen) ก็บอกกับนิวยอร์กไทมส์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.nytimes.com/2021/07/16/us/politics/yellen-us-china-trade.html) ว่า ภาษีศุลกากรเหล่านี้ "สร้างความเจ็บปวดให้แก่บรรดาผู้บริโภคอเมริกัน" ตั้งแต่ที่ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯในตอนนั้น สั่งจัดเก็บภาษีศุลกากรในอัตราราว 20% จากสินค้าประมาณครึ่งหนึ่งที่อเมริกาซื้อจากจีน กระทรวงการคลังสามารถจัดเก็บภาษีนี้ได้เงินราวๆ 100,000 ล้านดอลลาร์ ทว่าแทบทั้งหมดของจำนวนนี้ ผู้บริโภคสหรัฐฯนั่นแหละคือคนที่จ่าย

ภาษีศุลกากรเป็นเหตุผลส่วนหนึ่ง ซึ่งอธิบายถึงการที่อัตราเงินเฟ้อเมื่อคำนวณจากพวกสินค้าคงทน พุ่งขึ้นสูงลิ่วในช่วงปีที่ผ่านมา ก่อนหน้านี้ ราคาผู้บริโภคสำหรับพวกสินค้าคงทนอยู่ในสภาพลดต่ำลงอย่างสม่ำเสมอตลอดช่วงระหว่างปี 1995 ถึงปี 2020 โดยที่สำคัญเป็นเพราะพวกอิเล็กทรอนิกส์มีราคาลดลง ดัชนีราคาผู้บริโภคสำหรับสินค้าคงทนนั้นตกลงราว 25% ทีเดียวในช่วงระหว่างปี 1997 ถึงปี 2020 ก่อนที่มันจะเด้งกลับขึ้นมาประมาณ 15% นับตั้งแต่มีการใช้มาตรการล็อกดาวน์ต่อสู้กับโรคโควิด-19

อย่างที่แสดงให้เห็นในแผนภูมิข้างล่างนี้ การที่สินค้าซึ่งสหรัฐฯนำเข้าจากจีนมีราคาที่ลดต่ำลงนั้น มีผลกระทบอย่างใหญ่โตทีเดียวต่อราคาที่ชาวอเมริกันต้องจ่ายเพื่อซื้อพวกสินค้าคงทน



ผลสำรวจความคิดเห็นของ ว็อกซ์/ดาตา ฟอร์ โพรเกรสสีฟ โพลล์ (Vox/Data for Progress poll) ซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.vox.com/22600551/inflation-rate-poll-jobs-infrastructure-fed) ระบุเอาไว้ว่า ในทัศนะของผู้ออกเสียงชาวอเมริกัน เรื่องเงินเฟ้อคือประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจเร่งด่วนที่สุด

เวลานี้ สหรัฐฯนำเข้าสินค้าต่างๆ จากจีนคิดเป็นมูลค่าประมาณปีละ 550,000 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับเกือบๆ หนึ่งในสี่ของผลผลิตด้านอุตสาหกรรมการผลิตของอเมริกา ซึ่งอยู่ที่ 2.4 ล้านล้านดอลลาร์ ทั้งนี้เมื่อคำนวณจากพื้นฐานตัวเลขจีดีพี ในเมื่อสินค้านำเข้าจากจีนประมาณครึ่งหนึ่งทีเดียว ถูกจัดเก็บภาษีศุลกากรในอัตราราวๆ 20% ดังนั้นเพียงใช้หลักเลขคณิตธรรมดาๆ ก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า การยกเลิกภาษีศุลกากรเช่นนี้ไป สมควรจะลดต้นทุนของสินค้าคงทนในสหรัฐฯลงได้ประมาณ 2% กว่าๆ

จิน ชั่นหรง (Jin Canrong) ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน (Renmin University) ในกรุงปักกิ่ง และเป็นนักวิชาการจีนคนสำคัญคนหนึ่งซึ่งเป็นที่ติดตามกันอย่างใกล้ชิดในวอชิงตัน ออกมาแสดงความคิดเห็นเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า อัตราเงินเฟ้อสามารถที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐฯล้มละลายได้ เนื่องจากกำลังทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยในภาระหนี้สินของสหรัฐฯพุ่งสูงลิ่ว เขากล่าวต่อไปด้วยว่า สหรัฐฯจำเป็นต้องอาศัยสายโซ่อุปทานของจีน เพื่อกดให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ข้อเขียนเรื่อง "Will China bail out Biden?," วันที่ 3 สิงหาคม 2021 https://asiatimes.com/2021/08/will-china-bail-out-biden/)

โกล.ไทมส์ (Global Times) หนังสือพิมพ์ในการควบคุมของรัฐจีน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม ได้เสนอความเห็นเอาไว้ในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษของตน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.globaltimes.cn/page/202108/1230787.shtml) ว่า "นโยบายจัดเก็บภาษีศุลกากรอัตราสูงของสหรัฐฯ เป็นสิ่งที่ฝืนกับแนวโน้มของช่วงเวลานี้ และจะไม่สามารถยืนโรงไปได้นาน พวกบริษัทจีนโดยทั่วไปสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ใหม่เช่นนี้แล้ว ขณะที่สหรัฐฯกลับกำลังเจ็บปวดเสียหายจากภาษีศุลกากรเหล่านี้มากกว่าจีน  เรื่องนี้กำลังค่อยๆ ก่อรูปกลายเป็นฉันทามติในมติสาธารณชนสหรัฐฯ  และนี่ทำให้จีนมีเงื่อนไขที่ได้เปรียบกว่าในการธำรงรักษาจุดโฟกัสทางยุทธศาสตร์ของตน  อันที่จริงแล้ว มันยังเป็นการประกาศให้เห็นกันอย่างชัดเจนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย ถึงความแข็งแกร่งอย่างรอบด้านของจีน"

เวลาเดียวกันนี้ พวกนักยุทธศาสตร์ชาวอเมริกันจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ยังกำลังมีข้อสรุปอีกประการหนึ่งว่า ทรัมป์ประสบความล้มเหลวในการพยายามเหนี่ยวรั้งดึงถ่วงให้จีนก้าวหน้าช้าลงมา จากวิธีการตัดขาดไม่ให้จีนสามารถเข้าถึงพวกเซมิคอนดักเตอร์ระดับไฮ-เอนด์ ซึ่งผลิตขึ้นโดยอาศัยเทคโนโลยีสหรัฐฯ ทั้งนี้เอเชียไทมส์คือสื่อเจ้าแรกซึ่งรายงานเอาไว้ตั้งแต่เดือนที่แล้วว่า จีนมีศักยภาพด้านเซมิคอนดักเตอร์ที่สามารถหลบหลีกข้ามลอดมาตรการแซงก์ชั่นอเมริกันซึ่งมุ่งสกัดขัดขวางพวกแอปพลิเคชั่นสำคัญขั้นเป็นตายทั้งหลาย อย่างเช่น การสร้างเครือข่าย 5จี รวมทั้งยังรายงานว่าจีนกำลังเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในการนำเอา 5จี มาใช้ประโยชน์ในแวดวงอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง (ดูเพิ่มเติมได้ที่ข้อเขียนเรื่อง "China is first out of the gate to Industry 4.0," วันที่ 26 มิถุนายน 2021 https://asiatimes.com/2021/06/china-is-first-out-of-the-gate-to-industry-4-0/)

ภายในปีนี้ จีนจะสร้างสถานีฐานของเครือข่าย 5จี ได้เกือบๆ 1 ล้านแห่ง ถือเป็นฝีก้าวที่ล้ำหน้าดินแดนส่วนอื่นๆ ของโลกไปไกลทีเดียว ยิ่งกว่านั้น แหล่งข่าวหลายรายในแวดวงอุตสาหกรรมจีนรายงานว่า เครือข่าย 5จี ที่มีความประณีตซับซ้อน สำหรับใช้ในโรงงาน, ท่าเรือ, โกดังคลังสินค้า, เหมืองแร่, และระบบขนส่งภายในตัวเมืองใหญ่ จำนวนหลายหมื่นระบบ กำลังจะได้รับการติดตั้งขึ้นมาให้ใช้งานได้ภายในช่วงปีหน้า

ในเดือนกรกฎาคม 2021 สมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์สหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานว่าด้วยอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของจีน (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.semiconductors.org/wp-content/uploads/2021/07/Taking-Stock-of-China%E2%80%99s-Semiconductor-Industry_final.pdf) โดยพูดเอาไว้ดังนี้:

"เมื่อเดือนที่แล้วนี้เอง จีนได้ส่งทีมนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศเพื่อเข้าไปประจำอยู่ในสถานีอวกาศแห่งใหม่ ก่อนหน้านั้นในปีนี้ จีนยังจัดส่งยานสำรวจไปยังดาวอังคาร พวกสื่อภาครัฐของจีนรายงานว่า ทั้งภายในสถานีอวกาศ และภายในยานสำรวจดาวอังคารของจีนเหล่านี้ ต่างใช้เซมิคอนดักเตอร์ที่ออกแบบและผลิตขึ้นภายในประเทศล้วนๆ 100% เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นถึงสมรรถนะด้านไมโครชิประดับประณีตซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของจีน

กระนั้นก็ตาม ขณะที่จีนแสดงให้เห็นว่ามีความเชี่ยวชาญในเทคโนโลยีด้านชิปบางอย่างบางด้าน  ทว่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เพื่อการพาณิชย์ของแดนมังกรโดยรวมกลับยังคงอยู่ในอาการค่อนข้างเริ่มต้นเติบโตเท่านั้น  แต่รัฐบาลจีนก็กำลังใช้ความพยายามอย่างจริงจังเพื่ออุดช่วงห่างนี้ ด้วยการลงทุนในเรื่องเซมิคอนดักเตอร์ เป็นมูลค่ามากกว่า 150,000 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลาตั้งแต่ปี 2014 ไปจนถึงปี 2030 และด้วยการหนุนส่งจากตลาดที่กำลังบูม ตลอดจนการลงทุนต่างๆ เหล่านี้ของรัฐบาล จีนจึงอยู่ในฐานะที่จะมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้นในบางภาคส่วนของตลาดเซมิคอนดักเตอร์"

ในบทวิจารณ์ (ดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.project-syndicate.org/commentary/china-
versus-america-ai-race-pandemic-by-eric-schmidt-and-graham-allison-2020-08) ที่เขียนให้ โปรเจ็คต์ ซินดิเคต (Project Syndicate) เมื่อวันที่ 4สิงหาคม เกรแฮม แอลลิสัน (Graham Allison)ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และ อีริก ชมิดต์ (Eric Schmidt)อดีตซีอีไอของ กูเกิล กล่าวเตือนเอาไว้ว่า:

"ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ทึกทักเอาว่า ความเป็นผู้นำในเทคโนโลยีก้าวหน้าด้านต่างๆ ของประเทศชาติของพวกเขาเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสามารถโต้แย้งได้ ขณะเดียวกันก็มีผู้คนจำนวนมากในประชาคมความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯยืนกรานว่า จีนไม่มีทางเลยที่ไปได้ไกลเกินกว่าการเป็น "คู่แข่งขันที่ตามหลังมาใกล้ๆ"ของสหรัฐฯ ในด้าน เอไอ (AI ย่อมาจาก artificial intelligenceปัญญาประดิษฐ์) ในความเป็นจริงแล้ว จีนเป็นคู่แข่งขันระดับเท่าเทียมเต็มที่ของสหรัฐฯอยู่แล้วในเรื่องแอปพลิเคชั่น เอไอ ทั้งในเชิงพาณิชย์และในด้านความมั่นคงแห่งชาติ จีนไม่ได้เพียงแค่กำลังพยายามเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอไอเท่านั้น พวกเขามีความเชี่ยวชาญในเรื่องเอไออยู่แล้ว

โรคระบาดใหญ่คราวนี้เป็นการเสนอเวทีทดสอบอย่างเปิดเผยรุ่นแรกๆ ในเรื่องความสามารถของแต่ละประเทศที่จะระดมเอาเอไอออกมาใช้เพื่อตอบโต้กับภัยคุกคามทางความมั่นคงแห่งชาติ  ในสหรัฐฯ คณะบริหารของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่าตนนำเอาเทคโนโลยีลำสมัยมาใช้งานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการประกาศ"ทำสงคราม" กับไวรัสโคโรนา ทว่าส่วนใหญ่ที่สุดแล้ว เทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเอไอ ถูกนำมาใช้ในฐานะเป็นวลีถ้อยคำที่ทำให้เกิดความรู้สึกประทับใจเสียมากกว่า

ในประเทศจีนไม่ใช่อย่างนั้น เพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของไวรัสร้าย จีนล็อกดาวน์ประชากรทั้งหมดในมณฑลเหอเป่ย –ผู้คนจำนวน 60 ล้านคน  นั่นคือมากกว่าจำนวนของผู้พำนักอาศัยอยู่ทางฝั่งอีสต์โคสต์ของสหรัฐฯทุกๆรัฐ ไล่ตั้งแต่รัฐฟลอริดาจนถึงรัฐเมน จีนดูแลรักษาเขตควบคุมโรคอันใหญ่โตมโหฬารที่ขีดวงขึ้นมานี้ โดยใช้อัลกอริธึมที่ผ่านการปรับปรุงยกระดับโดยเอไอ เพื่อติดตามความเคลื่อนไหวของผู้พำนักอาศัย และยกระดับสมรรถนะในการตรวจหาเชื้อ เวลาเดียวกันนั้นก็สร้างสถานรักษาพยาบาลขนาดมหึมาแห่งใหม่

เอเชียไทมส์เป็นสื่อรายแรกที่รายงานข่าวเรื่องจีนใช้ เอไอ เพื่อควบคุมโรคระบาดใหญ่คราวนี้ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2020  (ในข้อเขียนเรื่อง ("China suppressed Covid-19 with AI and big data"https://asiatimes.com/2020/03/china-suppressed-covid-19-with-ai-and-big-data/)

มาตรการแซงก์ชั่นเทคโนโลยีของคณะบริหารทรัมป์ ไม่ได้ดึงรั้งจีนให้เชื่องช้าลง ในทางตรงกันข้าม อย่างที่ แอลลิสัน และชมิดต์ ยืนยันเอาไว้ จีนกำลังเคลื่อนตัวไปได้รวดเร็วกว่าสหรัฐฯ  และในบางแวดวงกระทั่งแซงหน้าสหรัฐฯไปแล้ว  เมื่อพิจารณากันด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจและเหตุผลทางยุทธศาสตร์  คณะบริหารไบเดนน่าที่จะนำเอานโยบายจีนที่ล้มเหลวแล้วของทรัมป์ไปกลบฝังอย่างเหมาะสม  แล้วจะได้เดินหน้ากันต่อไป