• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ธปท. เผยตัวเลขท่องเที่ยวปีหน้าชี้เป็นชี้ตายเศรษฐกิจไทย-หนุนรัฐ

Started by Naprapats, November 15, 2021, 12:12:55 PM

Previous topic - Next topic

Naprapats

นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2564-2565 และมาตรการผ่อนคลาย LTV ของธปท. ในงานประชุมใหญ่ประจำปี 2564 สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร ว่า ประมาณการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 ไว้ที่ 0.7-1% ส่วนปี 2565 ที่ 3.9-4% และหากปริมาณนักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทยมากกว่า 6 ล้านคน ตามประมาณการณ์ของธปท. (ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ 10 ล้านคน และต่ำกว่าช่วงต้มยำกุ้งของเศรษฐกิจไทยเมื่อปี 2540 ที่มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 7 ล้านคน) ก็มีโอกาสที่ตัวเลขเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้มากกว่า 4%

ทั้งนี้ ปัจจัยชี้เป็นชี้ตายเศรษฐกิจไทยปีหน้าอยู่ที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาได้หรือไม่ ส่วนหนึ่งเกิดจากขั้นตอนการกรอกเอกสารไทยแลนด์ดิจิตอลพาสต์ ที่มีเสียงสะท้อนจากต่างชาติว่าลงทะเบียนได้ยาก ประกอบกับรัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่บินระยะไกล ส่วนใหญ่ยังไม่อยากให้ประชาชนออกมา และประเทศสำคัญอย่างจีน ซึ่งรัฐบาลพยายามดำเนินนโยบายให้มีการปลอดโควิด-19 เพื่อรองรับการประชุมใหญ่โอลิมปิก ที่จะจัดขึ้นในปีหน้า ประกอบกับในหลายๆ ประเทศต่างก็แข่งขันกันโปรโมตด้านท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

"เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว แม้จะมีการระบาดของโควิดระลอกใหม่ หากไม่รุนแรงมาก ก็น่าจะผ่านพ้นไปได้ แต่อย่างไรก็ดี การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มต้น ยังไม่มั่นคงนักจากความไม่แน่นอน ประกอบกับความเปราะบางจากอัตราเเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้น จากราคาพลังงาน และสินค้าเกษตร แต่เชื่อว่าจะเป็นการชั่วคราว ซึ่งสุดท้ายอัตราเงินเฟ้อจะกลับลงมาสู่ระดับต่ำ ดังนั้นคาดว่าธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยไปได้ถึงสิ้นปี 2565 และในเวลานั้นเชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะกลับเข้าสู่ระดับเดียวกับที่ก่อนเกิดโควิดได้ ซึ่งถือว่าประเทศไทยใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าประเทศอื่นๆ ในการฟื้นเศรษฐกิจให้กลับสู่ระดับก่อนเกิดโควิด"

นายดอนกล่าวและว่า ในส่วนของตลาดแรงงานซึ่งได้รับผลกระทบค่อนข้างรุนแรง จากการระบาดของโควิดระลอกแล้วระลอกเล่า ทำให้มีผู้ว่างงานในระบบประกันสังคม และอัตราการว่างงานที่ยังคงตัวในระดับสูง ทำให้หนี้ครัวเรือนไทยยังอยู่ในระดับสูง จากการเปลี่ยนแปลงของรายได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นแรงงานอิสระ และลูกจ้างในภาคธุรกิจบริการ ซึ่งจะยังเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจไทยต่อในปีหน้า แต่ถ้าสถานการณ์จากนี้ไม่มีอะไรรุนแรงอีก เชื่อว่าปีหน้าจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ


ขณะที่ภาคธุรกิจไทย จะมีการฟื้นตัวไม่เท่ากัน หรือฟื้นตัวรูปตัว K โดยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออกจะฟื้นตัวได้ดีหรือ K ขาบน ส่วนท่องเที่ยว ภาคบริการ และอสังหาริมทรัพย์ ยังอยู่ใน K ขาล่าง

อย่างไรก็ดี จากความเปราะบางของเศรษฐกิจ ที่มีความไม่แน่นอนสูง ขณะที่ฐานะการเงินของธุรกิจและครัวเรือนยังไม่ดี ดังนั้น ธปท. มองว่าในภาวะเช่นนี้ควรจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจมาเพิ่มแรงส่งให้เศรษฐกิจไทย เช่นการลดอัตราดอกเบี้ยเฉพาะในบางภาคอุตสาหกรรม เช่น ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งถือเป็นภาคที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวมถึง 10% ของจีดีพี เนื่องจากมีธุรกิจเกี่ยวเนื่องค่อนข้างมากและทำให้เกิดการจ้างงานโดยรวมประมาณ 3 ล้านคน

โดยที่ผ่านธปท. ได้ออกมาตรการคลายล็อกแอลทีวี พร้อมกับมีการเจรจากับ 4 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะธปท. รัฐบาล ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ และ ธนาคารพาณิชย์ ที่จะทำให้การผ่อนคลายมาตรการแอลทีวี หรือการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์สำเร็จ เนื่องจากผลสำรวจของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ คาดการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยปี 2564 ติดลบสูงกว่าปี 2563

ดังนั้นหากรัฐบาล และธปท. ไม่มีมาตรการใดออกมากระตุ้นตลาดได้ คาดว่าภาคอสังหาริมทรัพย์จะต้องใช้เวลาถึงปี 2568 กว่าที่ตลาดจะฟื้นตัว ดังนั้นหากภาคอสังหาริมทรัพย์ไม่ฟื้น ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ฟื้นตัวได้ยาก

และมาตรการแอลทีวีอย่างเดียวอาจไม่ได้ผลมาก ต้องมีมาตรการการคลังของภาครัฐในแง่ของการต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมอสังหาริมทรัพย์ ที่ยังจำเป็นเพื่อให้เกิดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่ยังไม่ได้รับผลกระทบมากจากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา ทำให้มีการเสนอให้ต่ออายุมาตรการฯ และขยายเพดานราคาที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมในระดับราคาบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท และครอบคลุมไปถึงบ้านมือสองด้วย

เป้าหมายหลักของมาตรการดังกล่าว ไม่ได้ต้องการช่วยคนรวยให้มีบ้าน แต่ต้องการกระตุ้นให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากที่ผ่านมาเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าหลายประเทศ ประกอบกับในภาคสถาบันการเงินเองก็พร้อมที่จะปล่อ่ยกู้ให้กับกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง ขณะที่ยังคงเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อในกลุ่มรายได้น้อย และเมื่อเศรษฐกิจโดยรวมดีขึ้น คาดว่าสถาบันการเงินก็ยินดีที่จะปล่อยกู้ให้ผู้มีรายได้น้อยในระยะต่อไป

แต่ทั้งนี้ ธปท. ยังคงต้องติดตามการเก็งกำไรในตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างใกล้ชิด แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์ราคาอสังหาริมทรัพย์ปรับลดลงสวนทางในหลายประเทศที่อยู่ในช่วงฟองสบู่ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐ เกาหลี ซึ่งราคาที่อยู่อาศัยปรับขึ้นไปแล้ว 20%