• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ความปกติใหม่ยุคหลังโควิด-19

Started by Joe524, November 07, 2021, 12:24:25 PM

Previous topic - Next topic

Joe524

หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) ความปกติใหม่ของทั่วโลกในยุคหลังโควิด-19 : คอลัมน์ยังอีโคโนมิสต์ โดย อริสา จันทรบุญทา ผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี

ปัจจุบัน หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robotics and Automation) เข้ามามีบทบาทมากขึ้นต่อเนื่องในภาคการผลิตทั่วโลกตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยในปี 2562 ก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ปริมาณหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ใช้ในโรงงานทั่วโลกมี  2.72  ล้านตัว  หรือเพิ่มขึ้น 2.7  เท่าจากปี 2553  ขณะที่ประชากรโลกเพิ่มขึ้นเพียง 1.1 เท่าในช่วงระยะเวลาเดียวกัน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นเร็วกว่าประชากรโลกเป็นอย่างมาก

 

 ทั้งนี้ ในกรณีของประเทศไทยได้มีการนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้มากเป็นอันดับต้น ๆ ในอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์ โดยมีการใช้เพื่อผลิตรถยนต์มากที่สุด รองลงมาเป็น อิเล็กทรอนิกส์และไฟฟ้า ซึ่งสอดคล้องกับภาพรวมการใช้ของทั้งโลก


เทคโนโลยีผลิตหุ่นยนต์ฯ ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็วพร้อมกับการเกิดปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีบทบาทมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ทำให้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีราคาต่ำลงอีก ทั้งมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากความสามารถในการเรียนรู้และการตอบสนองต่อผู้คนที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 ส่งผลให้ภาคธุรกิจทั่วโลกจำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อทดแทนแรงงานอย่างรวดเร็ว 

ปริมาณหุ้นยนต์ที่ถูกใช้งานทั่วโลก
ปริมาณหุ้นยนต์ที่ถูกใช้งานทั่วโลก

จึงกลายเป็นปัจจัยผนวกกันทั้งในด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน เร่งให้ภาคธุรกิจเข้าสู่ยุคหุ่นยนต์ฯ เร็วมากขึ้น โดยประเมินว่าในปี 2573 จะมีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทั่วโลกอยู่ที่ราว 20 ล้านตัว (ข้อมูลจาก Oxford economic, 2020) หรือเพิ่มขึ้น 7.4 เท่าจากปริมาณในปัจจุบัน หากแต่จำนวนประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเพียงแค่ 1.08 เท่า

 

โดยปัจจัยด้านมหภาคที่กระตุ้นให้เกิดการเร่งตัวของการปฏิวัติหุ่นยนต์ (Robotic Revolution) หลังจากหมดสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่

ทิศทางค่าจ้างแรงงานที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศจีนซึ่งเสมือนเป็นโรงงานผลิตสินค้าโลกขนาดใหญ่ จึงกดดันให้จำเป็นต้องหาแนวทางลดต้นทุนในการผลิตเพื่อคงความสามารถในการทำกำไร
ราคาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ทยอยลดลง เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้าและสามารถผลิตได้มากขึ้น จึงมีต้นทุนที่ถูกลง สวนทางกับความสามารถของหุ่นยนต์ที่ดีขึ้น
ข้อจำกัดจากปริมาณแรงงาน โดยเป็นผลจากกำลังแรงงานที่ลดลงจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย
ข้อจำกัดศักยภาพของแรงงาน ในการทำงานซ้ำ ๆ ต่อเนื่อง งานที่ต้องการความแม่นยำความละเอียดสูง ไปจนงานที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต โดยเฉพาะภัยจากโรคระบาด
 

ดังนั้น เหตุผลที่ต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับจากการปรับเปลี่ยนไปใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จากการศึกษาพบว่า นอกจากการลดต้นทุนการผลิต และบรรเทาปัญหาข้อจำกัดของปริมาณและศักยภาพของแรงงานแล้ว ยังช่วยเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการทำงาน (productivity) อีกด้วย

 

McKinsey Institute ได้ประเมินว่า ผลิตภาพของโรงงาน (ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต) จะเพิ่มขึ้น 0.8-1.4% ต่อปี เมื่อนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาใช้ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะความสามารถในการทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่พัก และความแม่นยำในการทำงานที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์ที่มักเกิดความผิดพลาดจากความอ่อนล้า ซึ่งหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะช่วยลดความสูญเสียจากกระบวนการทำงานลงไปได้มาก

 

สำหรับประเทศไทย มีกรณีศึกษาของการลดต้นทุนในบริษัทผู้ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ผลิตภายในคลัสเตอร์หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยพบว่า พึงพอใจต่อเทคโนโลยี ราคา และประสิทธิภาพการทำงาน โดยเทียบกับการนำแขนกล 1 เครื่องมาใช้ จะสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาเพียง 10.4 เดือน ลดแรงงานที่ต้องทำงานซ้ำ ๆ ได้ 2 คน คิดเป็นมูลค่า 252,000 บาทต่อปี

 

ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าจากเครื่องจักรได้ถึง 3 เครื่อง มูลค่าผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น 113% จากเดิม 130,680 บาทต่อปี เป็น 278,760 บาทต่อปี  และยังลดค่าซ่อมบำรุงและค่าเสื่อมสภาพได้ถึง 45% นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์จากแรงจูงใจของรัฐเพื่อดึงกลุ่มธุรกิจที่ต้องการใช้หุ่นยนต์เข้าร่วมเป็นคลัสเตอร์มากขึ้น ผ่านสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ อีกด้วย

 

การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่รวดเร็วขึ้นนี้ จึงเป็นการก้าวสู่ความเป็น Thailand Industry 4.0  ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถต่อสู้บนเวทีตลาดโลกได้ แต่หนทางในการเปลี่ยนผ่านจากการผลิตแบบเก่าสู่การผลิตโดยใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ย่อมต้องเผชิญความท้าท้ายจาก

ความเหลื่อมล้ำในด้านรายได้และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ระหว่างกลุ่มที่มีทักษะสูงกับทักษะพื้นฐาน ซึ่งแรงงานกลุ่มทักษะพื้นฐานที่มีรูปแบบการทำงานไม่ซับซ้อนและเป็นรูปแบบซ้ำ ๆ กำลังถูกทดแทนด้วยหุ่นยนต์ฯเร็วขึ้น
ศักยภาพการแข่งขันของ SMEs ที่จะลดลงเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องมาจากการใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูงเพื่อนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเข้ามาใช้งาน ประกอบกับต้องมีแรงงานที่มีทักษะสูงเพื่อทำงานร่วมและซ่อมบำรุงหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติได้ ซึ่งกลุ่มธุรกิจ SMEs มีศักยภาพจำกัด ทั้งในด้านเงินทุนและการดึงดูดจ้างงานบุคลากรที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพพร้อมและปรับตัวได้เร็วกว่า
Ecosystem ในระบบเศรษฐกิจเพื่อรองรับยุคหุ่นยนต์ โดยเฉพาะทักษะความรู้ผู้ใช้งาน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ที่ยังมีความพร้อมไม่มาก
 

ดังนั้น มุมมองเชิงนโยบายที่ไทยต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่

 ภาครัฐควรเร่งสนับสนุนเงินทุนและจัดหาช่องทางศึกษา เพื่อส่งเสริมการฝึกทักษะใหม่ให้กลุ่มแรงงานที่กำลังถูกทดแทน พร้อมเสริมความแข็งแกร่งของกองทุนประกันสังคมเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่กลุ่มแรงงานที่ตกงาน
ส่งเสริมเงินทุนดอกเบี้ยพิเศษ ช่วยเหลือด้านบุคลากร และเพิ่มแรงจูงใจด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะ SMEs ให้สามารถนำหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมาปรับใช้งานเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันกับธุรกิจขนาดใหญ่ได้มากขึ้น
เสริมสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจยุคหุ่นยนต์ที่ดี โดยเร่งผลิตบุคลากรกลุ่มทักษะสูงที่สามารถทำงานร่วมกับหุ่นยนต์และทำการวิจัยต่อยอดได้ รวมทั้งส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการนำหุ่นยนต์มาใช้ ให้แก่ ผู้ใช้งาน ผู้ควบคุม  (Regulator) และประชาชนทั่วไป เพื่อให้ช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่นี้เป็นไปอย่างราบรื่น