• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อธิบดีควบคุมโรคยันไม่ขวาง มธ.นำเข้า ‘โมเดอร์นา’ แต่ต้องหาคนรับผิดชอบความปลอดภัย

Started by Panitsupa, October 28, 2021, 03:06:08 PM

Previous topic - Next topic

Panitsupa

จากกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ส่งหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) แนะนำให้ มธ.หารือกับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการรับบริจาควัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้อโมเดอร์นา จากภาคเอกชน ของประเทศโปแลนด์นั้น

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นดังกล่าวว่า กรมควบคุมโรคไม่ทราบถึงเงื่อนไขการบริจาควัคซีนล็อตดังกล่าว แต่เท่าที่ทราบคือ ไม่ได้เป็นการบริจาคระหว่างหน่วยงานรัฐกับหน่วยงานรัฐ ส่วนหนังสือที่ กต.ส่งคำแนะนำให้กับทางมหาวิทยาลัย โดยใช้คำว่า "อาจจะ" ปรึกษากรมควบคุมโรคได้นั้น

"ตามข้อเท็จจริงแล้ว เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นในส่วนของภาคเอกชน ไม่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล แต่เรายินดีให้คำปรึกษา หากเขาขอคำปรึกษามา แต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับการติดต่อใดๆ มาเลย ยืนยันว่าหากสามารถนำเข้ามาได้ ก็ให้ดำเนินการได้ โดยไม่มีการขัดข้องใดๆ" นพ.โอภาสกล่าว


กต.ยันไม่ได้เบรกวัคซีนบริจาคโปแลนด์ ย้ำแนะนำ มธ.โดยบริสุทธิ์ใจ ยึดคุ้มครอง ปชช.สูงสุด
อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่า ส่วนการบริจาควัคซีนระหว่างภาคเอกชนนั้น จะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขด้วย แต่เนื่องจากวัคซีนไม่ใช่สินค้าทั่วไป ไม่ใช่สบู่ หรือยาสีฟัน ที่เราใช้กันทั่วไป เพราะต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยโดย 1.ประสิทธิภาพ วัคซีนบริจาคมาแล้ว ต้องเก็บในอุณหภูมิที่เหมาะสมอย่างดี ดังนั้น การรับบริจาคมาต้องคำนึงถึงส่วนนี้ด้วยว่าการเก็บมาก่อนหน้านี้ ได้ดำเนินการเก็บดีหรือไม่

"หากเป็นรัฐต่อรัฐ เราก็คุยกันได้ แต่หากเป็นเอกชนกับเอกชนก็ต้องคำนึงเรื่องนี้ด้วย 2.ความปลอดภัย เพราะวัคซีนส่วนใหญ่ยังใช้ในภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น หากพบปัญหาขึ้น จะต้องมีผู้รับผิดชอบ หากเป็นรัฐต่อรัฐนั้น จะต้องนำเข้าหารือในคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอความเห็นชอบว่ารัฐบาลยินดีพร้อมรับผิดชอบ แต่เมื่อเป็นเอกชนแล้ว ใครจะรับผิดชอบ ต้องตอบให้ได้" นพ.โอภาสกล่าว



ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นการบริจาคระหว่างเอกชนด้วยกัน จะต้องประสานหน่วยงานรัฐมาก่อนหรือไม่ นพ.โอภาสกล่าวว่า ไม่จำเป็น เอกชนสามารถรับได้ แต่หากจะนำมาฉีดให้ประชาชน ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข เพราะไม่ใช่สินค้าทั่วไป คือได้รับการควบคุมกำกับจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

"ที่ผ่านมา เรารับบริจาคกันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ต้องถามต้นทาง ดูเอกสารให้ครบ นอกจากนั้นก็ต้องให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ช่วยดูด้วย ใครจะบริจาคอะไรก็ได้ แต่หากเอาวัคซีนมาฉีดให้คน ต้องมีหน่วยงานควบคุม กำกับ ไม่อย่างนั้น ใครจะเอายามาให้ใครกินก็ได้ ดังนั้น จะต้องดูว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบความปลอดภัย ประสิทธิภาพ ซึ่งไม่เหมือนกับที่เราไปซื้อจากโรงงาน ที่เซ็นสัญญาชัดเจน มีผู้ผลิตชัดเจน ทางรัฐบาลก็ดูแล หากซื้อต่อมา เขาเก็บดีหรือไม่ อันนี้เราตอบไม่ได้ ดังนั้น ต้องมีกระบวนการซักถามกัน" นพ.โอภาสกล่าว