• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 33.05 บาท/ดอลลาร์

Started by Joe524, October 27, 2021, 09:33:31 PM

Previous topic - Next topic

Joe524

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทยังมีทิศทางการเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways จับตาแนวรับที่โซน 33.00 บาทต่อดอลลาร์มีความสำคัญ เหตุผู้เล่นต่างชาติยังคงเก็งกำไรฝั่งอ่อนค่าและมีเป้าในช่วง 34-35 บาทต่อดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  33.05 บาทต่อดอลลาร์ "แข็งค่า"ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  33.15 บาทต่อดอลลาร์ ยังมีทิศทางการเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways โดยปัจจัยหนุนฝั่งแข็งค่า " ภาวะเปิดรับเสี่ยงของตลาดที่จะกดดันเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และ โฟลว์ขายทำกำไรทองคำ"

 

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีทิศทางการเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways โดยปัจจัยหนุนในฝั่งแข็งค่าคือ ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดที่จะกดดันให้เงินดอลลาร์่อ่อนค่าลง รวมถึง โฟลว์ขายทำกำไรทองคำ ซึ่งเราคาดว่าจะเริ่มเห็นภาพดังกล่าว หากราคาทองคำปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 1,800 ดอลลาร์ต่อออนซ์

 

อย่างไรก็ดี ฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ โดยเฉพาะฟันด์โฟลว์หุ้นนั้น จะเป็นปัจจัยที่สร้างความผันผวนให้กับเงินบาทได้ เพราะจะเห็นได้ว่า นักลงทุนต่างชาติได้เริ่มขายทำกำไรหุ้นไทยออกมาบ้าง ซึ่งจะกดดันให้เงินบาทผันผวนในฝั่งอ่อนค่า ซึ่งเรามองว่า โฟลว์นักลงทุนต่างชาติอาจมีการซื้อ-ขาย สลับกัน จนกว่าปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจจะมีทิศทางดีขึ้นชัดเจนและผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนเริ่มดีขึ้น จนนักวิเคราะห์มีการปรับเป้าผลกำไร ซึ่งจะช่วยลดระดับ Valuation ของหุ้นไทยให้ถูกลงจนน่าสนใจได้ เนื่องจากปัจจุบัน ระดับ Valuation หุ้นไทยถือว่าแพงพอสมควร

 


ทั้งนี้ แนวต้านสำคัญของเงินบาทยังอยู่ในโซน 33.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ผู้ส่งออกบางส่วนต่างรอขายเงินดอลลาร์อยู่ ส่วนผู้นำเข้าบางส่วนก็รอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้ เงินบาทยังมีแนวรับสำคัญที่โซน 33.00 บาทต่อดอลลาร์ นอกจากนี้ แนวรับเงินบาทที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ ถือว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากผู้เล่นต่างชาติที่ยังคงเก็งกำไรเงินบาทอ่อนค่าและมีเป้าในช่วง 34-35 บาทต่อดอลลาร์นั้น อาจวาง Stoploss ไว้ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้ หากเงินบาทแข็งค่าหลุดระดับดังกล่าว เราอาจเห็นโฟลว์ cover short positions ที่เก็งกำไรเงินบาทอ่อน กดดันให้เงินบาทแข็งค่าเร็วได้ในระยะสั้น

 

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.00-33.20 บาท/ดอลลาร์

 

ดัชนี S&P500 ของสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นกว่า +0.47% แตะจุดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เช่นเดียวกับ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ที่พุ่งขึ้นกว่า +0.90% หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่ทยอยออกมาดีกว่าคาด โดยเฉพาะรายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มเทคฯ ซึ่งล่าสุด Facebook ได้ประกาศผลกำไรโตขึ้นดีกว่าคาด นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้แรงหนุนจากความหวังของผู้เล่นในตลาดว่า สภาคองเกรสของสหรัฐฯจะสามารถผ่านร่างกฎหมายงบประมาณลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure Bill วงเงินกว่า 550 พันล้านดอลลาร์ ได้ภายในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ดี ปัจจัยเสี่ยงที่ตลาดยังคงกังวล คือ ปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอาจอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด ซึ่งตลาดก็เริ่มมองว่าภาพดังกล่าวจะส่งผลให้บรรดาธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นเร็วกว่าคาด

 

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 ปิดตลาดไม่เปลี่ยนแปลง โดยหุ้นกลุ่ม Cyclical ยังคงสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ ตามความหวังรายงานผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน  อาทิ หุ้นกลุ่มยานยนต์ที่ได้รับอานิสงส์จากเทรนด์การเติบโตของ EV หนุนให้ Volkswagen +4.9%, BMW +2.3% อย่างไรก็ดี เรายังคงเห็นแรงขายทำกำไรหุ้นที่ผลประกอบการแย่กว่าตลาดคาด อาทิ ASML -0.7% ขณะเดียวกันตลาดยังกังวลแนวโน้มรายได้ของหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนทำให้หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยยังคงมีการย่อตัวของราคาอยู่ Louis Vuitton -1.1%, Kering -0.9%

 

ในฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ยังคงทรงตัวใกล้ระดับ 1.64% ซึ่งเรามองว่า บอนด์ยีลด์ 10ปี ทั่วโลก อาจแกว่งตัว Sideways ในระยะสั้นนี้ จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่หนุนการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ อาทิ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หรือ ตลาดกลับมากังวลแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและเชื่อว่าบรรดาธนาคารกลางจะใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดได้เร็ว

 

ทางด้านตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมยังทรงตัวเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยผู้เล่นในตลาดยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนสถานะถือครองเพิ่มเติมมากหนัก เพราะถึงแม้ว่าตลาดจะเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อ แต่ตลาดยังคงเผชิญปัจจัยเสี่ยงจากแนวโน้มเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นและอยู่ในระดับสูงอยู่ โดยล่าสุด ดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ยังแกว่งตัวใกล้ระดับ 93.85 จุด ทั้งนี้ การเคลื่อนไหว sideways ของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ รวมถึง ความต้องการถือทองคำ เพื่อ hedge ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ ได้หนุนให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นมาสู่ระดับ 1,806 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่า อาจเริ่มเห็นโฟลว์ขายทำกำไรทองคำเกิดขึ้นบ้าง และโฟลว์ดังกล่าวอาจส่งผลให้เงินบาทผันผวนในฝั่งแข็งค่าขึ้นได้

 

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตาม รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยเฉพาะหุ้นเทคฯ ใหญ่สหรัฐฯ อาทิ Alphabet หรือ Google, Twitter และ Microsoft ซึ่งผลประกอบการที่ดีกว่าคาดและแนวโน้มการเติบโตของผลกำไรที่โดดเด่นจะช่วยหนุนให้ตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงได้

 

ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทแข็งค่าทดสอบแนว 33 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าไปที่ 32.98 บาทต่อดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นระดับแข็งค่าสุดในรอบ 5 สัปดาห์ ก่อนจะกลับมาเคลื่อนไหวที่ระดับประมาณ 33.07-33.08 บาทต่อดอลลาร์ฯ (9.45 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 33.15 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทแข็งค่าขึ้นตามแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ของกลุ่มผู้ส่งออก ประกอบกับมีแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ตามปัจจัยทางเทคนิคผสมออกมาด้วยเช่นกัน 

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 33.00-33.25 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขการส่งออกไทยเดือนก.ย. ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิดในประเทศ ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาบ้านเดือนส.ค.  ยอดขายบ้านใหม่ และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค