• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างทักษะดิจิทัลให้พนักงาน

Started by Joe524, March 30, 2022, 02:54:48 PM

Previous topic - Next topic

Joe524

การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและสร้างทักษะดิจิทัลให้พนักงาน คือกุญแจสำคัญสำหรับซัพพลายเชนไทย

บริษัทต้องพิจารณาแปดปัจจัยสำคัญเพื่อออกแบบระบบซัพพลายเชน ที่สามารถรับมือกับดิสรัปชันในอนาคต
สิ่งที่ต้องดำเนินการรวมถึงการนำดิจิทัลขั้นสูงมาใช้ในซัพพลายเชน และสร้างทักษะดิจิทัลให้พนักงาน
กรุงเทพฯ 29 มีนาคม 2565 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ระบบซัพพลายเชนแบบเดิมเผชิญกับปัญหาหลายด้าน บริษัทต่าง ๆ ได้รับผลกระทบจากซัพพลายเชนที่หยุดชะงัก ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติงานประจำด้านอื่น ๆ ของธุรกิจด้วย โดยรายงานผลสำรวจ EY Business Pulse Survey 2021: Thailand Report - Living with COVID-19 and winning together เปิดเผยว่า 45% ของผู้บริหารไทย ระบุว่าธุรกิจได้รับผลกระทบจากปัญหาด้านซัพพลายเชน อาทิ การสูญเสียซัพพลายเออร์ ต้นทุนวัตถุดิบและต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นรายงานผลการศึกษาของอีวาย Investing in Southeast Asia: Reimagining man.cturing and supply chains ระบุว่า ผู้ผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งในประเทศไทย มองหาโอกาสการเติบโตหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 จากการค้าที่จะเพิ่มสูงขึ้น แต่ผู้ผลิตจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ด้านซัพพลายเชนใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคว้าโอกาสทางธุรกิจนี้

นริศรา พัตนพิบูล หัวหน้าสายงานบริการที่ปรึกษาธุรกิจ อีวาย (EY) ประเทศไทย กล่าวว่า

"ซัพพลายเชนไทยปรับตัวอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว เนื่องจากต้องเผชิญกับความท้าทายหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายของแต่ละประเทศ และความตึงเครียดของสถานการณ์การค้าโลก อย่างไรก็ตาม โควิด-19 เป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันให้ผู้นำองค์กรกลับมาทบทวนระบบซัพพลายเชนใหม่ โดยมุ่งตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ และพัฒนาแผนความยืดหยุ่นให้ชัดเจนเพื่อมุ่งสู่การเติบโตที่ยั่งยืน ดังนั้น ซัพพลายเชนจึงจะกลายเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญทางธุรกิจยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา"

แปดปัจจัยสำคัญที่บริษัทต้องพิจารณาเพื่อพัฒนากลยุทธ์ซัพพลายเชน

รายงานผลการศึกษาของอีวายแนะนำแปดปัจจัยสำคัญ สำหรับบริษัทที่กำลังวางแผนและปรับกลยุทธ์ในระบบซัพพลายเชน ดังต่อไปนี้

ทำงานร่วมกับคู่ค้าอย่างใกล้ชิด บริหารคลังสินค้าและระบบซัพพลายเชนแบบครบวงจร: วางแผนสินค้าคงคลัง คลังสินค้า โลจิสติกส์ และบริการจัดส่งสินค้า การส่งคืนสินค้าให้รวดเร็ว เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่มีมากขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพการค้าในภูมิภาคและกลยุทธ์ภาษีในห่วงโซ่คุณค่า: สร้างสมดุลให้เหมาะสม ระหว่างการจัดการด้านภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพต้นทุนในการให้บริการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งรวมไปถึงการจัดซื้อ การผลิต การนำเข้า การขนส่ง การกระจายสินค้าและการขายสินค้า
พิจารณาขอบเขตการให้บริการ สินทรัพย์ และการลงทุน: โดยกระจายอำนาจไปในแต่ละพื้นที่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อเข้าถึงตลาดที่มีการเติบโตสูงในราคาที่สมเหตุสมผล
เห็นภาพรวมการดำเนินงานด้านซัพพลายเชนด้วยแพลตฟอร์มอัจฉริยะ และมีระบบตรวจสอบย้อนกลับ: ติดตั้งระบบซัพพลายเชนที่มีการบูรณาการอย่างครบวงจร โดยลดการหยุดชะงักหรือให้เกิดน้อยที่สุด และเพิ่มการประสานงานและร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด
สร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์: โดยสร้างสมดุลระหว่างการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐาน กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าในแต่ละพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม
คำนึงถึงความยืดหยุ่นและความยั่งยืนของซัพพลายเชนในระยะต่าง ๆ: ลดการพึ่งพากลุ่มผู้จัดจำหน่ายรายใหญ่ระดับโลกที่มีจำนวนจำกัด และเพิ่มการพึ่งพาผู้จัดหาสินค้าท้องถิ่นในราคาที่แข่งขันได้
ปรับโครงสร้างและเพิ่มทักษะพนักงาน: สร้างทักษะทางเทคนิคและเพิ่มทักษะการคิดวิเคราะห์และความสามารถในการแก้ปัญหาในขั้นตอนต่าง ๆ ให้กับพนักงาน
ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: นำหลักการอุตสาหกรรม 4.0 มาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นในการผลิต โดยคำนึงถึงความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน
ปรับกลยุทธ์ซัพพลายเชนไทย เพื่อรองรับการเติบโตระยะยาว

รายงานผลการศึกษาของอีวายยังได้แนะนำว่า ในการปรับโครงสร้างธุรกิจ ผู้บริหารองค์กรควรนำแผนสร้างทักษะการใช้งานระบบดิจิทัลมาเป็นแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่องค์กรดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ EY Business Pulse Survey 2021: Thailand Report ที่ระบุว่า 78.22% ของผู้นำองค์กรธุรกิจไทย เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญที่สุดในช่วงสามถึงหกเดือนข้างหน้า คือการเร่งจัดทำแผนธุรกิจมุ่งสู่องค์กรดิจิทัล

พนักงานคือกุญแจสำคัญของกระบวนการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้น การเตรียมพนักงานให้มีความพร้อมด้านดิจิทัลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ผู้บริหารต้องขับเคลื่อนองค์กรด้วยการทำให้พนักงานเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงแทนที่จะบังคับให้ยอมรับสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่การฝึกอบรม คัดสรรพนักงาน และรักษาพนักงาน

นริศรา กล่าวว่า

"ตอนนี้เป็นจังหวะที่ดี ที่บริษัทจะนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในระบบซัพพลายเชนเพื่อประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ระบบซัพพลายเชนอัจฉริยะที่สามารถตรวจสอบได้อย่างครบวงจร การเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดเก็บบนคลาวด์ และการเข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ จะช่วยให้สามารตรวจสอบย้อนกลับ ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่ตลอด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น ยิ่งไปกว่านั้น ซัพพลายเชนอัจฉริยะจะช่วยลดความเสี่ยงที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด หรือหากมีปัญหาเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้จัดการได้ง่ายและรวดเร็ว"

"ระหว่างการจัดระบบซัพพลายเชนใหม่ บริษัทจำเป็นต้องสร้างสมดุลระหว่างการนำเทคโนโลยีมาใช้กับการสร้างทักษะดิจิทัลให้กับพนักงาน เนื่องจากทักษะใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอด พนักงานที่มีทักษะเหล่านี้มีจำนวนน้อยกว่าความต้องการของตลาด บริษัทจึงจำเป็นต้องลงทุนสร้างทักษะให้กับพนักงานเอง ด้วยการจัดทำแผนฝึกอบรม และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อสร้างผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล"

โรคระบาดที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงการพึ่งพากันของซัพพลายเชนทั่วโลก รวมถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลและการสร้างพนักงานที่มีทักษะในการดำเนินงานด้านซัพพลายเชน ธุรกิจที่มีความยืดหยุ่นและปรับตัวได้อย่างรวดเร็วจะเอาชนะความท้าทายที่เกิดขึ้นได้

นริศรา สรุปปิดท้ายว่า

"โควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจไปอย่างมาก การดำเนินงานด้านซัพพลายเชนของไทยจะต้องเตรียมความพร้อมเป็นอย่างดี เพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวเมื่อโรคระบาดใหญ่กลายเป็นโรคประจำถิ่น กุญแจสู่ความสำเร็จของซัพพลายเชนไทยคือการปรับกลยุทธ์ โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ที่เน้นความโปร่งใสและคล่องตัว รวมทั้งต้องลงทุนในทรัพยากรบุคคลเพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่แข็งแกร่ง และเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและสร้างความยั่งยืนในระยะยาว"