• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

โควิด19ระลอก4ฉุดซัพพลาย-ดีมานด์อสังหาฯโซนอีอีซี9เดือนแรกหดตัว

Started by dsmol19, January 27, 2022, 03:37:02 PM

Previous topic - Next topic

dsmol19


ศูนย์ข้อมูลฯเผยโควิดระลอก4 อสังหาฯโซนอีอีซี 9 เดือนที่ผ่านมาซัพพลายและดีมานด์ตลาดที่อยู่อาศัยหดตัวแรง โครงการที่่ขอออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงถึง -31.3% ส่วนการโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดสร้างใหม่ลดลงเหลือ 4,913 ยูนิต และอาคารชุดมือสองจำนวน 2,223 ยูนิต

นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่าสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในพื้นที่อีอีซีชะลอตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงไตรมาส 3 ปี2564 ทั้งอุปทานด้านการออกใบอนุญาตสรรที่ดินต่ำสุดในรอบ 9 ปี  ด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนหน่วยลดลงอย่างต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่10 นับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ที่เริ่มประกาศใช้มาตรการแอลทีวีของธนาคารแห่งประเทศไทย ในภาพรวมสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 (ม.ค.- ก.ย.) มีอัตราการขยายตัวติดลบ

    ไตรมาสแรกติดลบ2.6% ขณะที่ไตรมาส 2 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้น7.6 %  จากฐานต่ำและในไตรมาส 3 กลับมาติดลบอีก0.3 %ส่งผลให้ทั้งอุปทานและอุปสงค์ของตลาดที่อยู่อาศัยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม - กันยายน) "หดตัว"ลงชัดเจน โดยอุปทานการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินลดลงทั้งจำนวนโครงการและจำนวนหน่วย ลดลง31.3% และ34.6% ตามลำดับ ด้านการออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.1% ด้านอุปสงค์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยลดลงทั้งจำนวนหน่วยและมูลค่าลดลง18.3% และ16.3% ตามลำดับ

สำหรับภาพรวมทั้งปี 2564 แม้มีปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ยังมีปัจจัยบวกที่สำคัญคือภาวะที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดต่ำมาก รวมถึงการที่รัฐบาลได้ขยายระยะเวลามาตรการกระตุ้นภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และการจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยสร้างใหม่ ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทไปจนถึงสิ้นปี 2564 และลดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเหลือ 10% ซึ่งเป็นมาตรการที่จะช่วยลดภาระของผู้ซื้อและผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 


  นอกจากนี้การที่ธนาคารแห่งประเทศได้ประกาศผ่อนคลายมาตรการแอลทีวีชั่วคราว สำหรับสัญญาเงินกู้ที่ทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 20 ต.ค. 2564 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2565 เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อมาถึงเกือบ 2 ปี

นับเป็นปัจจัยที่มีส่วนทำให้ยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในจังหวัดอีอีซี ลดลงไม่รุนแรงตามที่คาดการณ์กันไว้ตั้งแต่ต้นปีรวมถึงการที่รัฐบาลได้มีนโยบายในการเปิดประเทศ โดยจังหวัดชลบุรี และระยองเป็นพื้นที่สีฟ้านำร่องการท่องเที่ยว และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวเป็นบวก 1.2% ปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ จากการลดลง6.1% ในปี 2563 

จากทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบที่กล่าวมา ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ คาดการณ์ว่า ในปี 2564 สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยใน 3 จังหวัด อีอีซีในด้านอุปทานการขอใบอนุญาตจัดสรรที่ดิน จะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง -31.3 ถึง -16.0 %การขอใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัยจะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ -9.1 ถึง 11.2 %ส่วนด้านอุปสงค์ในปี 2564 คาดการณ์ว่า หน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง -30.3 ถึง -14.8% แต่จำนวนมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยคาดว่าจะมีอัตราขยายตัวอยู่ในช่วง -18.3 ถึง -0.1 %เนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยต่อหน่วยปรับตัวสูงขึ้น เมื่อเทียบกับปี 2563