อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท (https://www.vworkpoint.com/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%AF-%E0%B8%9E%E0%B8%9A/)ปิดตลาดในประเทศ 'อ่อนค่า ' ที่ระดับ 33.87 บาท/ดอลลาร์ฯ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทกรอบการเคลื่อนไหวสัปดาห์หน้าคาดไว้ที่ 33.50-34.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 33.87 บาทต่อดอลลาร์ฯ หลังระหว่างวันอ่อนค่าไปที่ 33.99 ซึ่งเป็นระดับที่ทำไว้เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา และเป็นสถิติอ่อนค่าสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค. 2560
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าอัตราและเปลี่ยนค่าเงินบาทขาดปัจจัยหนุนใหม่ๆ มากระตุ้น ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ ยังคงได้รับอานิสงส์จากกระแสการคาดการณ์เกี่ยวกับการเร่งลดวงเงิน QE ของเฟด และอาจส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสกัดความเสี่ยงเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ในปีหน้า
สำหรับทิศทางฟันด์โฟลว์วันนี้ นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นและพันธบัตรไทย 316.38 ล้านบาท และ 478 ล้านบาทตามลำดับ
ส่วนค่าเฉลี่ย Indicative forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2564 โดยธปท. อยู่ที่ -1.18 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 1.99 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)
สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 6-10ธ..ค2564คาดไว้ที่ 33.50-34.30 บาท/ดอลลาร์ฯ
ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงานเดือนต.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนพ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค. (เบื้องต้น) และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามจีดีพีไตรมาส 3 ของยูโรโซนและญี่ปุ่น รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนพ.ย. ของจีน อาทิ ตัวเลขการส่งออก ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิตด้วยเช่นกัน