อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท (https://www.dinsorkod.com/%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B8%A7%E0%B8%99-sp-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0-np-%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99-nok/)ยังเผชิญแรงกดดันจากราคาทองคำปรับตัวลง มองกรอบเคลื่อนไหวในวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.75-33.95 บาท/ดอลลาร์
อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 33.88 บาทต่อดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลง จากระดับปิดวันก่อนหน้า
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตาดทุน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสเผชิญความผันผวนในฝั่งอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องจากแรงขายสินทรัพย์ไทย โดยเฉพาะ บอนด์ระยะสั้นตามการปรับสถานะเก็งกำไรเงินบาทของผู้เล่นต่างชาติ ซึ่งล่าสุดนักลงทุนต่างชาติได้ขายบอนด์ระยะสั้นมาตลอดทั้งสัปดาห์กว่า 2 หมื่นล้านบาท โดยแรงกดดันเงินบาทฝั่งอ่อนค่านั้นมาจากความกังวลปัญหาการระบาดของ Omicron เป็นหลัก
ทั้งนี้ เงินบาทยังเผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวลงของราคาทองคำ ซึ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดทองคำบางส่วนยังทยอยเข้ามา Buy on Dip แต่ยังไม่มีจังหวะการรีบาวด์ของราคาทองคำ ที่จะทำให้ผู้เล่นสามารถขายทำกำไรได้ (โฟลว์ขายทำกำไรทองคำจะช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้)
นอกจากนี้ สัญญาณเชิงเทคนิคัลในระยะสั้นยังคงชี้ว่าเงินบาทยังมีแรงกดดันฝั่งอ่อนค่า ทำให้ผู้เล่นต่างชาติยังไม่รีบกลับเข้ามาเก็งกำไรเงินบาทฝั่งแข็งค่า อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่า จังหวะกลับตัวมาแข็งค่าของเงินบาทอาจเกิดขึ้นในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า หากข้อมูลวิทยาศาสตร์ชี้ชัดว่า การเร่งระดมแจกวัคซีนสามารถยับยั้งการแพร่ระบาดของ Omicron ได้ ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกอาจไม่ซบเซาหนัก ทั้งนี้ เงินบาทยังคงมีแนวต้านสำคัญในโซน 34.00 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนแนวรับเงินบาทยังคงอยู่ในโซน 33.50-33.60 บาทต่อดอลลาร์ จากแรงซื้อเงินดอลลาร์ของผู้นำเข้าบางส่วน
ดังนั้น ในระยะนี้ เราประเมินว่า ตลาดค่าเงินยังมีแนวโน้มผันผวนสูงอยู่ ผู้ประกอบการควรเพิ่มความระมัดระวังในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและควรใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น อาทิ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ดีขึ้น