ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN

ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ โฆษณาสินค้าฟรี => ธุรกิจ, การค้า => Topic started by: Chanapot on July 28, 2021, 11:24:08 AM

Title: ธปท.ออก 4 แนวทางปฏิบัติใช้บล็อกเชนในธุรกิจการเงิน
Post by: Chanapot on July 28, 2021, 11:24:08 AM


(https://i.ibb.co/GCGC6gW/2021-07-28-081500.jpg)
นางสาวสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน เปิดเผยว่า ธปท. ได้ออกแนวปฏิบัติการใช้เทคโนโลยี Blockchain (https://www.zawzo.com/Guestpost/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/) ในการให้บริการทางการเงิน เพื่อให้ผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. ใช้เป็นแนวทางในการนำเทคโนโลยี  Blockchain ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับลูกค้าผู้ใช้บริการ และองค์กรธุรกิจต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้มีความปลอดภัยและความเชื่อมั่นแก่ประชาชนผู้ใช้บริการทางการเงินในโลกการเงินยุคดิจิทัลในอนาคต

เทคโนโลยี Blockchain มีศักยภาพในการพัฒนาภาคการเงินเนื่องจากมีคุณสมบัติสำคัญเรื่องการกระจายข้อมูลจัดเก็บ การเข้ารหัสข้อมูล การเชื่อมต่อกันโดยอ้างอิงจากข้อมูลก่อนหน้า ทำให้การบริหารจัดการข้อมูลในเครือข่าย Blockchain มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือ ข้อมูลใน Blockchain ถูกปลอมแปลงแก้ไขได้ยาก และช่วยลดขั้นตอนการทำงาน ส่งผลให้ต้นทุนการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลต่ำลง ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานสูงขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาบริการทางการเงินได้หลากหลาย

ซึ่งในปัจจุบันภาคการเงินของไทยมีการนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้มากขึ้น เช่น การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลธุรกรรมการเงิน การโอนเงินระหว่างประเทศ การออกหนังสือค้ำประกันอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินต่าง ๆ


แนวปฏิบัติฉบับนี้เป็นกรอบหลักการในการนำเทคโนโลยี Blockchain มาพัฒนานวัตกรรมทางการเงินควบคู่ไปกับการดูแลความเสี่ยงอย่างรัดกุม โดยผู้ให้บริการทางการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. สามารถนำมาปรับใช้กับบริการทางการเงินที่มีการประยุกต์ใช้ Blockchain โดยเฉพาะในรูปแบบ Private Blockchain Network โดยเนื้อหาของแนวปฏิบัติ Blockchain ประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 


1) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Blockchain ในทางธุรกิจ
2) การกำกับดูแลการใช้เทคโนโลยี Blockchain
3) การบริหารจัดการความเสี่ยงด้าน IT
4) การบริหารความเสี่ยงทางกฎหมาย