• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

แนะติดตาม 6ปัจจัยสัปดาห์หน้า ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

Started by Beer625, October 10, 2021, 07:07:59 AM

Previous topic - Next topic

Beer625

กสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 33.40-34.20 บาทต่อดอลลาร์ บล.กสิกรไทยคาด ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,620 และ 1,600 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,675 จุด ตามลำดับ

6ปัจจัยต้องติดตาม "สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน- เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ -สถานการณ์โควิด  -การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย.และสหรัฐฯ -ผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้   ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน"

 

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 11-15ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.40-34.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ

 

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาสินค้านำเข้า/ส่งออกเดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนต.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อ 21-22 ก.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย. และผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้  ในวันศุกร์ (8 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.85 เทียบกับระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (1 ต.ค.)

 

แนะติดตาม 6ปัจจัยสัปดาห์หน้า ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย
แนะติดตาม 6ปัจจัยสัปดาห์หน้า ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย


บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.)มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,620 และ 1,600 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,675 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์โควิด ทิศทางเงินลงทุนจากต่างประเทศ และสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย. รวมถึงบันทึกการประชุมเฟด

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.ย.ของญี่ปุ่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน อาทิ ตัวเลขส่งออกและเงินเฟ้อ  สำหรับ ดัชนี SET เมื่อวันที่ 8ต.ค. 2564 ปิดที่ระดับ 1,639.41 จุด เพิ่มขึ้น 2.13% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 91,842.36 ล้านบาท ลดลง 7.08% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 3.17% มาปิดที่ 560.62 จุด