• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

Menu

Show posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.

Show posts Menu

Messages - Jessicas

#8687


ธุรกิจร้านอาหารที่มูลค่านับ "แสนล้านบาท" ถือเป็นหนึ่งในกิจการหน้าด่าน เมื่อรัฐประกาศ "ล็อกดาวน์" สกัดโควิด จะต้องโดนผลกระทบเป็นลำดับแรกทั้งห้ามรับประทานในร้าน(Dine in) นั่งได้แต่ต้องมีระยะห่าง เปิดพื้นที่ 25% และ 50% เป็นต้น ทว่าล่าสุดการยกระดับคุมเข้มโรคระบาดรอบใหม่ "เดลิเวอรี่-ซื้อกลับบ้าน" จากร้านที่มีสาขาในห้างค้าปลีกก็ทำไม่ได้

ปิดประตูแห่งโอกาสทำเงินที่เหลือช่องอยู่น้อยนิด ทำให้แต่ละแบรนด์ต้องหาพื้นที่นอกห้างเปิดครัวกลาง หน้าร้านขายเดลิเวอรี่ ซื้อกลับบ้านกันจ้าละหวั่น

"บุฟเฟ่ต์" เป็นอีกประเภทร้านอาหารที่ปรับตัวยาก ยิ่งเป็น "ปิ้งย่าง" ลำบากหนักไปใหญ่ เพราะจะให้เสิร์ฟเดลิเวอรี่ปิ้งย่างถึงบ้าน เตา ควัน กลิ่นฯ ไม่เอื้อให้อิ่มอร่อยจริงๆ

สุรช ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ที่มีร้านอาหารแบรนด์ "วาคิว ยากินิกุ" ร้านปิ้งย่างพรีเมี่ยมสไตล์ญี่ปุ่น แม้มีสาขาไม่มาก แต่ได้รับผลกระทบเต็มๆ เพราะหากมองโมเดลธุรกิจ "ร้านอาหาร" ตอบไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคที่ออกมารับประทานเมนูโปรดนอกบ้าน จะปรับตัวพลิกสูตรลุยเดลิเวอรี่ ไม่ใช่ความจำเป็นแม้แต่น้อย

ทั้งนี้ เมื่อร้านอาหารต้องรับมือโรคระบาดควบคู่มาตรการรัฐ ปิดๆเปิดร้านเป็นระลอก การปรับตัวจึงต้องทำเพื่ออยู่รอด โดยที่ผ่านมา "วาคิว ยากินิกุ" งัดโมเดลเสิร์ฟบุฟเฟต์ปิ้งย่างถึงบ้านในชื่อ "วาคิว ยากินิกุ ออน เดอะ เทเบิ้ล" เหมือนกับเชฟ ออน เดอะ เทเบิ้ล โดยมีพนักงาน 2 คน พร้อมเมนูอาหาร 5-6 รายการ ไปบริการแก่ลูกค้าในเวลา 1.30 ชั่วโมง ด้วยราคาหลัก "พันบาท" สร้างผลตอบรับอย่างดี มีรายได้มาจุนเจือจ่ายพนักงาน

ทว่า การล็อกดาวน์ล่าสุด ห้ามรวมตัวกันเกิน 5 คน ปิดตาย!การหารายได้จากบริการดังกล่าว เพราะการทานบุฟเฟ่ต์ปิ้งย่างถึงบ้าน หลายคนจึงจะคุ้มค่า

วาคิว ยากินิกุ มีสาขาไม่มากนัก เช่น สยามพารากอน เอสพลานาด และย่านพระราม 2 เมื่อเจอวิกฤติทำให้บริษัทตัดใจปิด "สาขาสยามพารากอน" ซึ่งเป็นจังหวะที่ศูนย์การค้าปรับปรุงด้วย จากเดิมสาขาดังกล่าวทำเงิน 4-5 ล้านบาทต่อเดือน

ผลกระทบที่เกิดขึ้น บริษัทยังปรับตัวต่อเนื่อง โดยใช้พื้นที่สาขา The Garden คลองเตยและสร้างสรรค์เมนูอาหารจานเดียว เสิร์ฟเดลิเวอรี่ให้กับกลุ่มเป้าหมาย และหารายได้เพื่อดูแลพนักงานเป็นหลัก

"ธุรกิจร้านอาหาร 80-90% รายได้มาจากการนั่งทานในร้าน ส่วนเดลิเวอรี่มีเพียง 10-20% เท่านั้น และไม่ใช่ทุกรายที่ทำเดลิเวอรี่ประสบความสำเร็จ ซึ่งวาคิวฯ หากไม่มีโควิด-19 กระทบ ไม่มีทางทำเดลิเวอรี่ เราไม่จำเป็นต้องพัฒนาโมเดลนี้ เพราะเราคือบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง ทำที่บ้านไม่สะดวกเลย ชาบู สุกี้ ยังพอทำที่บ้านได้ แต่ปิ้งย่าง ปรับตัวยากจริงๆ"  


มองแนวโน้มร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่างโดยรวมยังได้รับผลกระทบหนัก ยิ่งผู้ประกอบการรายย่อยที่เปิดร้านหมูกะทะราคา 129 บาท 199 บาทต่อคน อยู่ลำบากมาก อาจมีหายไปจากตลาด หากต้องส่งเดลิเวอรี่จะไม่คุ้มค่าส่ง ค่าการตลาดต่างๆ ส่วนการฟื้นตัวกลับมาเร็วหรือไม่ ยังมีตัวแปรกำลังซื้อผู้บริโภคลดลงด้วย

"เมื่อคลายล็อกดาวน์ ธุรกิจร้านอาหารกลับมาเร็ว เพราะผู้บริโภคอั้นมานาน จึงออกมารับประทานอาหารนอกบ้าน อย่างวาคิวฯ สาขาพระราม 2 หลังคลายล็อกดาวน์ ยอดขายทำนิวไฮมาตลอด แต่การล็อกดาวน์เต็มรูปแบบนรอบนี้ ห้ามขายเลย กระทบหนักมาก เพราะธุรกิจทำอะไรไม่ได้เลย จึงไม่เห็นด้วยกับมาตรการล็อกดาวน์"


ธุรกิจร้านอาหารของล็อกซเล่ย์ ถือเป็นพอร์ตโฟลิโอค่อนข้างเล็ก การล็อกดาวน์กระทบยอดขาย แต่ธุรกิจอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภคยังมีแนวโน้มขยายตัวดี โดยเฉพาะน้ำมันพืช "กุ๊ก" ยอดขาย 6 เดือน เติบโตเกือบ 100% เพราะรองรับพฤติกรรมการอยู่บ้าน ทำงานที่บ้านมากขึ้น ทำให้บริโภคประกอบอาหารที่บ้าน รวมถึงกะปิ น้ำปลา ผงปรุงรส ยอดขายเติบโตเช่นกัน ขณะที่น้ำมันพืชจำหน่ายขนาด 200 ลิตรหรือน้ำมันปิ๊บ ได้รับผลกระทบ เพราะส่วนใหญ่บริการลูกค้าโรงแรม ร้านอาหาร ซึ่งปิดให้บริการ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปที่ยอดขายลดลง

ส่วนขนมขบเคี้ยว(สแน็ค)ค่อนข้างทรงตัว เนื่องจากส่วนใหญ่จำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เมื่อจำกัดเวลาขายและเป็นช่วงนาทีทอง(ไพรม์ไทม์) จึงกระเทือนยอดขาย อย่างไรก็ตาม ปี 2564 ภาพรวมธุรกิจเทรดดิ้ง คาดว่าจะขยายตัวได้ ไอทีแม้ไม่เติบโต แต่ยังทำกำไร

"ครึ่งปีหลังสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมันพืช ข้าว น้ำปลา กะปิ ยาสีฟัน แปรงฟัน ยังมีทิศทางที่ดี เพราะคนไทยต้องกินต้องใช้"
#8691
คิดจะถมที่ ปลูกบ้าน หรือ สร้างโรงงาน ยินดีให้คำปรึกษา เริ่มที่เราจบที่เรา ไม่ทิ้งงาน 080-022-3804
#8696


นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า  ในการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 22 ก.ค.นี้  ส.อ.ท. และ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยจะเสนอ 4 แนวทางช่วยเหลือเอสเอ็มอีเพิ่มเติม แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการเสนอแนวทางต่อภาครัฐไปแล้วหลายอย่างโดยเฉพาะด้านการเงิน แต่ก็ยังคงเป็นปัญหาอยู่

 ประกอบด้วย 1.เพิ่มสัดส่วนการค้ำประกันความเสียหายผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อมเพิ่มขึ้นเป็น 60% เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาในช่วงนี้ได้มากขึ้น 2. พิจารณาให้ผู้ประกอบการที่เป็นลูกหนี้สถาบันการเงินที่เข้าเกณฑ์ NPL ที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดจนถึง 3 ปี นับจากสิ้นสุดช่วงโควิด ไม่มีประวัติข้อมูลที่บ่งบอกถึงประวัติการชำระหนี้หรือสินเชื่อใน Credit Bureau

3.ให้พิจารณาผ่อนคลายเงื่อนไขการปล่อยกู้ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เขียนไว้ว่า "ให้สภาพคล่องแก่ผู้ประกอบการที่ยังพอมีศักยภาพ" โดยให้เป็นดุลยพินิจของสถาบันการเงิน ซึ่งการเข้มงวดกับคำว่าศักยภาพที่ยึดโยงกับรายได้ในอนาคตที่ไม่แน่นอนจากสถานการณ์วิกฤติไม่ปกติจะเป็นอุปสรรคลำดับแรก ที่สถาบันการเงินจะยังไม่พิจารณาปล่อยสินเชื่อให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่เป็น NPLs จากผลกระทบของโควิด-19 และ 4. ให้ความช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข โดยการจัดหา Rapid Test ให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี


นายชนินท์ ว่องกุศลกิจ นายกสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย กล่าวว่า  สมาคมฯร่วมกับตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินแนวทางเร่งด่วนในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจให้สามารถผ่านพ้นช่วงโควิด โดยขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียนที่มีศักยภาพให้ชำระค่าสินค้าและบริการล่วงหน้าบางส่วน ขยายระยะเวลาเรียกเก็บหนี้ ลดระยะเวลาชำระหนี้ และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ลูกจ้างและพนักงาน โดยจ่ายเงินเดือนทุก 15 วัน


ทั้งนี้ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดตั้งกองทุน ส.อ.ท. ช่วยไทยสู้ภัยโควิด-19 เพื่อให้ความช่วยเหลือในเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนด้านสาธารณสุข ทั้งการจัดหา Rapid Test ให้กับผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี และประชาชน, สร้างห้องความดันลบ, จัดหาวัคซีนเพิ่มเติมและสภาอุตสาหกรรมฯ ยังจะเข้าไปสนับสนุนโครงการ Rescue Box สำหรับผู้ป่วยโควิดของสมาคมบริษัทจดทะเบียนไทยเพิ่มเติม โดยจัดหาสิ่งของที่จำเป็นและยาเข้าไปสมทบ หรือการช่วยเหลืออื่นๆ ที่ภาคสาธารณสุขมีความจำเป็น

รวมถึงขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียน เพื่อระดมความช่วยเหลือร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในการจัดทำ Rescue Box สำหรับผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวที่บ้านหรือผู้ป่วยโควิดที่แยกกักตัวในชุมชนและให้ภาครัฐเร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มธุรกิจเพื่อประคองเศรษฐกิจของประเทศ เช่น ภาคส่งออก ภาคก่อสร้าง และโรงงานต่างๆ 

 

นอกจากนี้ ยังหารือแนวทางความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ อาทิ การผลักดันโครงการ Faster Payment ให้บริษัทที่เข้าร่วมโครงการจะลดระยะเวลา Credit term ให้แก่คู่ค้าของบริษัทโดยเฉพาะกลุ่ม เอสเอ็มอี ในระยะเวลา 30 วันต่อไปจนถึงสิ้นปี และความร่วมมือกันในการจัดทำสินเชื่อ Supply Chain Factoring เพื่อช่วย SMEs โดยจะหารือร่วมกับสถาบันการเงินเพื่อให้เกิดขึ้นให้ได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงแนวทางกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศด้วยการสนับสนุนสินค้าที่ได้ขึ้นทะเบียน Made in Thailand แล้ว
#8698


    เช็คเลย! "เยียวยาประกันสังคม" มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 39 แต่ละกลุ่ม โอนเงินวันไหนบ้าง?
    ประกันสังคมเปิดไทม์ไลน์โอนเงินเยียวยา 2,500 - 5,000 ผู้ประกันตนมาตรา 33 ม.39 - 40 เริ่ม 6 ส.ค. - 15 ส.ค.

    อัพเดทมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการล็อคดาวน์สถานการณโควิด-19 พื้นที่สีแดงเข้มรวม 13 จังหวัด ซึ่งถือเป็นมาตรการการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ในกรอบวงเงิน 3,000 ล้านบาท กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ รวบรวมไทม์ไลน์การจ่ายเงินเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 39 ตามมาตราการเยียวยาล็อกดาวน์ ในพื้นที่ 13 จังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด  ดังนี้

    พื้นที่ซึ่งศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ได้ประกาศยกระดับพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดงเข้ม) ในพื้นที่ 10 จังหวัดเป็น 13 จังหวัด ได้แก่ 
    [list=1]
    • กรุงเทพมหานครนครปฐม 
    • นนทบุรี 
    • นราธิวาส 
    • ปทุมธานี 
    • ปัตตานี  
    • ยะลา 
    • สงขลา
    • สมุทรปราการ
    • สมุทรสาคร
    โดยพื้นที่ที่เพิ่มา 3 จังหวัดล่าสุดตามประกาศ ศบค.ฉบับที่ 27 ได้แก่ 
    [list=1]
    • ฉะเชิงเทรา 
    • ชลบุรี 
    • พระนครศรีอยุธยา 
    9 ประเภทกิจการ กลุ่มอาชีพที่ได้รับสิทธิเยียวยาล็อกดาวน์

    (1) ก่อสร้าง

    (2) ที่พักแรมและบริการด้านอาหาร

    (3) ศิลปะ บันเทิงและนันทนาการ

    (4) กิจกรรมบริการด้านอื่นๆ

    (5) ขายส่งและการขายปลีก ซ่อมยานยนต์

    (6) ขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

    (7) กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

    (8) กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ

    (9) ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร


    โอนเงินเยียวยาวันไหนบ้าง?

    1.กลุ่มแรงงานตาม ม.33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุดไม่เกิน10,000 บาท

    สำหรับ 10 จังหวัดแรก (กทม. ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม นนทบุรี ปัตตานี ยะลา นราธิวาส  สงขลา ) ประมาณ 2.8 ล้านคน จะได้รับเงินเยียวยา 2,500 บาท ทางบัญชีพร้อมเพย์ ตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค. 64 เป็นต้นไป 

    สำหรับอีก 3 จังหวัด ชลบุรี ฉะเชิงเทรา พระนครศรีอยุธยา ที่ครม.เพิ่งอนุมัติ ประมาณ 2.7 แสนคน จะได้รับเยียวยา 2,500


    2.กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือจะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน

    สำหรับนายจ้างมาตรา 33 ใน 10 จังหวัดแรกประมาณ 1.6 แสนราย ได้เยียวยาเข้าบัญชี วันที่  6 ส.ค.64

    สำหรับนายจ้างมาตรา 33 ใน 3 จังหวัด ประมาณ 1.9 หมื่นราย ได้เยียวยาเข้าบัญชี วันที่ 15 ส.ค. 64 โดยประมาณ

    3. .ผู้ประกันตนตามมาตรา 39และมาตรา40สัญชาติไทยที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000บาท จำนวน 1 เดือน ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา33มาตรา 39และมาตรา 40สัญชาติไทยที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนก.ค.2564เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000บาทจำนวน 1 เดือน หากใครยังไม่เข้าระบบประกันสังคม ต้องลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้ที่ https://www.sso.go.th/section40_regist/ โดยต้องลงทะเบียนภายในเดือน ก.ค. 64 ซึ่งกลุ่มนี้ยังไม่สรุปจะโอนเงินเมื่อไร ต้องรอลงทะเบียนให้ครบก่อน


    นายจ้างและลูกจ้างสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ www.sso.go.th หากได้รับสิทธ์ก็ทำการผูกเลขบัญชีกับเลขบัตรประชาชนในระบบพร้อมเพย์ สำนักงานประกันสังคมจะเริ่มโอนเงินผ่านระบบ Promptpay เท่านั้น ในวันศุกร์ ที่ 6 สิงหาคม 2564