• Welcome to ลงประกาศฟรี โพสฟรี โปรโมทเว็บไซด์ให้ติดอันดับ SEO ด้วย PBN.
 

poker online

ปูนปั้น

ตลาดบอนด์สหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve หลังเผยจ้างงานต่ำกว่าคาด

Started by PostDD, April 04, 2022, 08:59:15 PM

Previous topic - Next topic

PostDD

ตลาดบอนด์สหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve หลังเผยจ้างงานต่ำกว่าคาด
 
ตลาดพันธบัตรสหรัฐเกิดภาวะ inverted yield curve ในวันนี้ หลังจากที่สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานต่ำกว่าคาด โดยอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นดีดตัวเหนือพันธบัตรระยะยาว ซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงแนวโน้มการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

ณ เวลา 20.40 น.ตามเวลาไทย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 3 ปี พุ่งขึ้นสู่ระดับ 2.626% ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 5 ปี ดีดตัวสู่ระดับ 2.576% โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรดังกล่าวอยู่สูงกว่าพันธบัตรอายุ 10 ปี ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.448% ขณะที่พันธบัตรอายุ 30 ปีอยู่ที่ระดับ 2.536%

นักลงทุนกังวลว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะได้รับผลกระทบจากการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ยังคงเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ แม้สหรัฐเปิดเผยตัวเลขจ้างงานที่ต่ำกว่าคาดในวันนี้

ก่อนหน้านี้ เหตุการณ์อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นสูงกว่าพันธบัตรอายุ 30 ปีได้เกิดขึ้นในปี 2549 ก่อนที่จะเกิดวิกฤตการเงินทั่วโลกในอีกเพียงไม่กี่ปีถัดมา

ที่ผ่านมา ภาวะ inverted yield curve มักเกิดขึ้นจากการที่นักลงทุนพากันเทขายพันธบัตรระยะสั้น และเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว ท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในระยะสั้น กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 431,000 ตำแหน่งในเดือนมี.ค. ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 490,000 ตำแหน่ง

ส่วนอัตราการว่างงานปรับตัวลงสู่ระดับ 3.6% ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 3.7%

กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนม.ค. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 504,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานว่าเพิ่มขึ้น 481,000 ตำแหน่ง และปรับตัวเลขการจ้างงานในเดือนก.พ. โดยปรับเป็นเพิ่มขึ้น 750,000 ตำแหน่ง จากเดิมรายงานว่าเพิ่มขึ้น 678,000 ตำแหน่ง

กระทรวงแรงงานสหรัฐระบุว่าภาคเอกชนมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 426,000 ตำแหน่ง ขณะที่ภาครัฐจ้างงานเพิ่มขึ้น 5,000 ตำแหน่ง

ขณะเดียวกัน ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงโดยเฉลี่ยของแรงงาน เพิ่มขึ้น 0.4% สอดคล้องกับตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์

ทั้งนี้ ตัวเลขค่าจ้างรายชั่วโมงนับเป็นข้อมูลที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ให้ความสำคัญเพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ภาวะเงินเฟ้อ

ส่วนตัวเลขอัตราการเข้าสู่ตลาดแรงงานของสหรัฐ ซึ่งแสดงสัดส่วนของกำลังแรงงานต่อจำนวนประชากรทั้งหมด อยู่ที่ระดับ 62.4%